Digital Marketing Clinic

Digital Marketing Clinic

Sunday 25 December 2011

การมีเวบไซต์ กับการใช้ facebook สำหรับธุรกิจ


คงมีเจ้าของธุรกิจหลายท่านได้รับคำแนะนำจากบุคคลใกล้ตัว หรือแม้กระทั่งผู้ที่รับจ้างทำเวบไซต์ให้ใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพราะกระจายข้อมูลไปได้ในคนหมู่กว้างของ Social Network  ในขณะที่เวบไซต์ที่ธุรกิจลงทุนเสียเงินทำไปแล้วนั้น ใช้งานไม่ต่างจากการนำโบรชัวร์ที่เคยพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษไปปะไว้ที่หน้าเวบไซต์ของตนเอง บางรายที่ทำเป็น flash movie ก็ไม่ต่างจากการเปิดวิดีโอให้ฉายซ้ำแล้วซ้ำอีกไปมา หาได้มีเนื้อหาอะไรใหม่ๆ ไปใส่ในเวบไซต์ของตนเองให้มีความน่าสนใจน่าติดตามไม่ บางรายถึงขั้นเลิกใช้เวบไซต์ของตนเองไปเพราะจัดการยุ่งยากแล้วหันไปใช้ Facebook เพื่อธุรกิจของตนเองแทน
โดยความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้ใช้งาน facebook สามารถโพสต์ข้อความ และนำรูปขึ้นไปแสดงได้ หรือตกแต่งหน้า facebook ได้นั้น ด้วยความรู้และเทคนิคเดียวกัน ท่านก็คือผู้ที่สามารถทำการปรับปรุงเเนื้อหาต่างๆ ในเวบไซต์ของท่านได้เช่นกัน ถ้าท่านมีสิทธิ์ในการเข้าถึงเวบไซต์ของท่านอย่างสมบูรณ์ แต่ที่ผ่านมานั้น ผู้รับจ้างทำเวบไซต์ทั้งหลาย ไม่ได้ให้ท่านเป็นเจ้าของเวบไซต์นั้นโดยสมบูรณ์คือไม่เปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจที่เป็นเจ้าของเวบไซต์นั้นเข้าไปจัดการเนื้อหาได้ด้วยตนเอง จะทำอะไรกับเวบไซต์สักครั้งหนึ่ง ก็ต้องจ่ายเงินเขาให้ทำให้ร่ำไป ทั้งๆ ที่วิธีการนำเนื้อหาเข้าเวบไซต์ แทบจะไม่ได้ต่างจากการนำเนื้อหาเข้าใน facebook แต่อย่างใด

อ่านต่อ...

Monday 19 December 2011

SEO & SEM ใน Google Search

"โหพี่ SEO โรงแรมผมขั้นเทพ ขนาด search คำว่า xxxxxx xxxxxx hotel ยังแพ้ xxxxx กะ xxxxxxxxxxxxxxx เลย"
ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนเอาไก่มาปล่อยตัเบ้อเร้อ เมื่อคุยกันเกี่่ยวกับการ Search หาโรงแรมตนเอง ใน Google อย่างนี้ปล่อยไปไม่ได้แล้ว เลยหยิบเอามาเขียนสักหน่อย
ถ้าท่านค้นหาคำใน Google ท่านจะพบกับการแสดงผลค้นหาอย่างที่เห็นในภาพด้านบนนี้ การแสดงผลจะมีด้วยกัน 3 ส่วนหลักคือ ส่วนด้านบนที่มีพื้นเป็นสีชมพู ส่วนด้านขวามือของจอ และส่วนที่เรียงรายกันลงมาของหน้าเวบปกติ
การแสดงผลดังกล่าวของ Google มีการแสดงผลอยู่ 2 ลักษณะคือ

อ่านต่อ...

การทำ SEO บนหน้าเวบของเวบไซต์ท่าน

ว่าจะยังไม่เขียน ก็ดันคันไม้คันมือ และคันปาก หลังจากรู้ว่า นายสกนธ์ แห่งโรงแรม Prince Palace มาแอบ Copy Source Code ของเวบไซต์ที่ทำงานเก่าของผมไปดูเป็นตัวอย่าง ฟังแล้วสุดแสนจะเศร้าใจ ถ้าอยากรู้ แล้วทำไม๊ทำไม ไม่ถามกันมาให้จะๆ
ขออนุญาตหยิบเอาเรื่องการทำ SEO บนหน้าเอกสารของเวบ มาแนะนำให้เข้าใจ จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาไล่ ก๊อปปี้หน้าเวบของผมไปดู้เป็นตัวอย่าง แล้วก็ทำตามไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าอะไรมันอยู่ตรงไหน อีกประการหนึ่ง ถ้าไม่รู้ว่า ในเนื้อหาของเวบแต่ละหน้ามีหน้าที่และบทบาทอย่างไร ถึงจะได้ Source Code ไป ก็ตาลาย (เหล่ ด้วย) ไปตามๆ กัน
สำหรับเรื่องนี้นะครับ ผมต้องขออนุญาติเอารูปภาพขนาดใหญ่มาอธิบาย

อ่านต่อ....

Thursday 15 December 2011

Hotel Market Segmentation


ธุรกิจโรงแรมและที่พักนั้นเป็นธุรกิจที่มีไว้รองรับ นักเดินทาง (Traveller) หรือผู้มาเยี่ยมเยือน (Visitor) ที่ไม่สามารถเดินทางกลับไปพำนักยังภูมิลำเนาเดิมของตนภายในวันเดียวกันนั้น ได้ ดังนั้นจึงต้องการที่พักเพื่อใช้หลับนอนระหว่างการเดินทางเพื่อทำกิจธุระ ต่างๆ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายอื่น หรือเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเอง ดังนั้น ธุรกิจโรงแรมและที่พักนั้นหาได้มีไว้เพื่อบริการนักท่องเที่ยวแต่เพียงอย่าง เดียวไม่ แต่มีไว้บริการนักเดินทาง หรือผู้มาเยี่ยมเยือนทุกคนที่ต้องการที่พักหลับนอนระหว่างการเดินทาง

การดำเนินกิจกรรมทางด้านการตลาดของธุรกิจโรงแรมที่พัก อย่างมีระบบนั้น จะมีการแบ่งส่วนของตลาดออกมาเป็นกลุ่มๆ อย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือลูกค้านั้นมีความแตกต่างกัน ส่งผลต่อความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มลูกค้า

อ่านต่อ...

Thursday 8 December 2011

ถ้าท่านแอด Friend ใน Facebook จนเต็มแล้วจะทำอย่างไร


เพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่ว่า Add Friend ใน Facebook ไปแล้วได้รับการแจ้งกลับมาว่า Facebook ที่เราแอดไปนั้นได้ทำการ Add Friend ไว้เต็มอัตราศึกแล้วจึงทำให้ผู้แอดใหม่ แอดเพิ่มเข้าไปไม่ได้ อ้าว แล้วอย่างนี้คนที่จะแอดเข้าไปใหม่ๆ จะทำอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จึงต้องรีบขุดเอาความรู้ที่อยู่ในกรุของของตนเองออกมาแบ่งปัน จะได้ใช้ Facebook กันได้อย่างอิ่มหนำสำราญใจ ไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขวางกัน

อ่านต่อ...

Wednesday 7 December 2011

H1 H2 Tags เมนู และ Tabs สำคัญอย่างไรในด้าน SEO


บังเอิญได้มีโอกาสเข้าไปดูเวบไซต์ที่เป็นของรีสอร์ท และเวบไซต์ของบริษัทนำเที่ยวในต่างจังหวัดมา 2-3 แห่ง แล้วคิดว่าน่าจะนำมาเขียนเล่าแบ่งปันให้กันฟังจะเป็นการดี เพราะน่าจะเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกับ Site Map ได้เป็นอย่างดี
ในการเข้าตรวจสอบเวบไซต์ของ Spider หรือ Crawler จาก Search Engine ต่างๆ นั้น เนื่องจากเนื้อหาในเวบไซต์ต่างๆ จะมีข้อความอยู่เป็นจำนวนมาก มากเกินกว่าที่จะเก็บไปใช้เป็น Keywords สำหรับใช้ในการค้นหาได้ทั้งหมด ดังนั้นจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาเวบไซต์ที่มีการเน้นข้อความในเนื้อหา มากกว่าเนื้อหาปกติ

อ่านต่อ

Site Map นั้น สำคัญไฉน

แผนผังเวบไซต์เปรียบเสมือนลายแทงสำหรับผู้เข้าชมเวบไซต์ ที่ทางผู้จัดทำเวบไซต์ทำไว้ให้ผู้เข้าชมได้เห็นว่าในเวบไซต์นั้นๆ มีเนื้อหาอะไรตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของเวบไซต์
แต่แผนผังเวบไซต์ มิได้มีไว้เพียงเพื่อบอกทางแก่ผู้เข้าชมเวบไซต์แต่เพียงเท่านั้น แต่แผนผังเวบไซต์ที่ทางผู้จัดทำเวบได้จัดทำขึ้นนั้น ยังมีประโยชน์ในด้านการเข้ามาหาข้อมูลของ Spider หรือ Crawler ที่ถูกส่งมาจาก Search Engine ต่างๆ อีกด้วย

อ่านต่อ...

Friday 2 December 2011

Online Booking Engine สำหรับโรงแรม

ถ้าท่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Reservation โรงแรม ท่านเคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้ไหม เช้า Book สาย Amend เย็น Cancel วันหนึ่งท่านเสียเวลาไปกับเหตุการณ์อย่างนี้มากน้อยเพียงใด
การที่แต่ละโรงแรมประสบกับสถานการณ์ที่กล่าวข้างต้นเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน เพราะพฤติกรรมของนักเดินทางเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางในลักษณะของ FIT กันมากขึ้น การจองห้องพักแต่ละ booking มีจำนวนห้อง และวันเข้าพักน้อยลง แต่ความไม่แน่นอนของ Booking มีมากขึ้น โดยเฉพาะนักเดินทางระยะใกล้ (Short Haul) ที่มีเที่ยวบินจำนวนมาก ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดินทางได้ตลอดเวลา
อ่านต่อ

Saturday 26 November 2011

ทำไมเวบไซต์ต้องมี Google Adsense

เวลาที่ท่านเข้าไปชมตามเวบไซต์ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ตนั้น ท่านเคยสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหมว่า ทำไมเวบไซต์ส่วนใหญ่จะต้องมีป้ายโฆษณาของ Google Adsense ติดอยู่ที่เวบไซต์ของตนเองด้วยเสมอ ไม่เว้นแม้กระทั่งเวบไซต์ของกิจการต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจเป็นของตนเอง
ผมขอเฉลยเคล็ดที่ไม่ลับสำหรับผู้ชอบติดตามข้อมูลข่าวสารทางเวบไซต์ให้รับทราบ จะได้ไม่ต่อว่าทำไมเป็นเวบไซต์ทางธุรกิจแล้วยังมาติดป้ายแบนเนอร์โฆษณาสินค้าของ Google Adsense หรา หรือว่าธุรกิจของเวบไซต์นั้นไม่พอกิน
อย่าเพิ่งเข้าใจผิด หรือดูถูกดูแคลนธุรกิจที่เป็นเจ้าของเวบไซต์นั้นๆ ว่าเขาธุรกิจไม่ดีจึงต้องมีการหากินกับการโฆษณา และปรับเปลี่ยนการรับรู้ไว้ใหม่ซะว่า "เวบไซต์นั้นทำออกมาโดย Webmaster ที่มีกึ๋น" เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น? อยากรู้ก็ติดตามมาละกัน
อ่านต่อ...

Comment, Click Like กับ Click Sponsor Link อย่างไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน

Sponsor Ads in a website
ผมเองเขียน Web Blog มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และสังเกตุเห็นว่ามีผู้แวะเวียนเข้ามาอ่านบทความที่ผมเขียนไว้พอสมควร เมื่ออ่านแล้วผู้อ่านก็มักจะคลิ๊ก Like ของ Facebook เป็นหลัก คงเป็นเพราะว่าง่ายกว่าอย่างอื่นๆ การคลิ๊ก Like ใน Facebook นั้น แสดงให้เห็นถึงความนิยม คือประโยชน์ของเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ และแสดงให้เห็นว่า มีผู้ใดเข้ามาอ่านแล้วบ้าง ก็ถือว่าเป็นการตอบสนองของผู้อ่าน Web Blog  ได้ในระดับหนึ่ง
แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้เขียน Web Blog นั้นจะมีส่วนของ Sponsor Link และ Comment อยู่ใน Blog ของตนเองด้วย เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้เขียน Blog เพื่อธุรกิจ แต่เป็นการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ข้อมูล ความรู้ต่างๆ กับผู้อ่าน ดังนั้นการแสดงความคิดเห็น ทัศนคติของผู้อ่านที่มีต่อข้อเขียน บทความ ของ Blogger นั้นๆ นับว่ามีความสำคัญต่อการจัดทำ Web Blog อยุ่เป็นอย่างมาก เพราะความข้อความต่างๆ ในส่วน Comment ของผู้อ่านเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ Web Blog นั้นได้รับประโยชน์ทางด้าน SEO และ Content Building เพราะการแสดงความคิดเห็นของผู้อ่านจะเป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาให้กับ Web Blog นั้นๆ นั่นเอง
อ่านต่อ

Website Submission ขั้นตอนสำคัญสำหรับ SEO

Search Engine Submission
ถ้าท่านมีเวบไซต์เป็นของตนเองมาแล้วสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำการค้นหาเวบไซต์ของท่านได้จาก keywords ต่างๆ ตาม Search Engine ได้นั้น ท่านคงกลุ้มใจไม่น้อย และต้องหันไปพึ่งพาบริการของนายหน้าที่รับจ้างทำทางด้าน SEO เสียเงินเสียทองกันมากยิ่งขึ้นไปอีก กว่าเวบไซต์จะเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วไป
การที่ท่านมีเวบไซต์แล้ว แต่ยังไม่ได้นำรายละเอียดของเวบไซต์ท่านไปใส่ไว้ในสารบบของ Web Directory และ Search Engine ต่างๆ เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเนื้อหาเวบไซต์ของท่านนั้น ก็เหมือนกับท่านยังไม่ได้แจ้งเกิดให้กับเวบไซต์ของท่าน Search Engine ก็จะยังไม่ส่งเครื่องมือมาตรวจสอบข้อมูลเนื้อหาเวบไซต์ของท่านไปใส่ในระบบ จึงยังไม่สามารถค้นหาได้จาก Serach Engine ต่างๆ
แต่ปัญหานี้ท่านสามารถแก้ไขในเบื้องต้นได้ด้วยตัวท่านเองด้วยการทำ Website Submission ไปตาม Website Directory และ Search Engine ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของเวบไซต์เข้าไปทำการลงทะเบียนเวบไซต์ของท่านใน Web Directory และ Search Engine ต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้รู้ว่าขณะนี้มีเวบของท่านเป็นเวบเกิดใหม่ และต้องการนำเข้าสู่สารบบในการค้นหา พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดเบื้องต้นว่าเวบของท่านนั้นมีเนื้อหาหลัก เกี่ยวกับเรื่องใด และควรใช้คำใดเป็นคำหลักในการค้นหา
ในการทำ Website Submission นั้น มีสิ่งที่ต้องให้ความหลักๆ 3 ประการคือ

อ่านต่อ...

Thursday 24 November 2011

ADR. กับ Rev.PAR. จะยึดตัวใดดี

ADR. Comparison
เวลาพนักงานขายและการตลาดของโรงแรมมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน มักจะคุยโวโอ้อวดกันว่า โรงแรมของตนมี Occupancy Rates กี่เปอร์เซนต์ หรือ ARR. ของใครสูงกว่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ค่อยได้นำมาพูดคุย หรือคุยโวโอ้อวดกันก็คือ Rev.PAR. เพราะมีจำนวนไม่มากนักที่จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้อย่างถ่องแท้
วันนี้ จึงขอเสนอเรื่อง ARR.(ADR.) กับ Rev.PAR. ให้ผู้ที่อยู่ในแวดวง Sales & Marketing โรงแรม รวมไปถึง Front Office Manager ได้ทำความเข้าใจเพื่อจะได้เข้าใจถึงมุมมองทั้งในด้านการตลาดและการขาย ที่การตลาดมักจะมุ่งเน้นไปในการทำให้สินค้าของตนขายได้ในราคาสูงขึ้นและ ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ ในขณะที่การขายนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหน่วยที่ขาย หรือยอดขายรวมทั้งหมด
โรงแรมเป็นสินค้าที่ต่างจากสินค้าอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเพิ่มได้ในเวลาที่มีความต้องการสูงเหมือนสินค้าอื่นๆ ดังนั้นการทำ Yield โดยการควบคุมราคาขายให้อยู่ในเกณฑ์ที่โรงแรมได้รับ ประโยชน์สูงสุด การขายได้มาก ใช่ว่ากิจการนั้นจะมีกำไร ถ้าจำนวนที่ต้องขายออกไปเป็นจำนวนมาก และมีต้นทุนในการประกอบการสูงตามไปด้วย ดังนั้นทางโรงแรมต้องสร้างความสมดุลย์ระหว่าง ADR. และ Rev.PAR. เป็นอย่างดี ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ตัวอักษรย่อ และความหมายเหล่านี้กันดีกว่า
อ่านต่อ

มาตรฐานโรงแรมเกี่ยวกับอัคคีภัย - ด่านอรหันต์ในการเปิดตลาดอังกฤษและสหภาพยุโรป ตอนที่ 1

ในการนำโรงแรมไปเสนอขายให้กับ Tour Operator ใหญ่ๆ ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU และ สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ) นั้น หลายโรงแรมเคยเสียเงินเสียทองจำนวนมาบินไปร่วมงานไปร่วมงานแสดงสินค้าท่อง เที่ยวที่จัดได้ว่าใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกที่งาน ITB กรุงเบอร์ลิน และอันดับ 2 ที่งาน WTM กรุงลอนดอน หลายครั้งหลายครา หมดเงินทองค่าใช้จ่ายในการไปร่วมงาน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยว และ shopping ไปก็มาก แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถติดต่อค้าขายกับ Tour Operator รายใหญ่ได้สมใจหวัง ทั้งๆ ที่โรงแรมหรือรีสอร์ทของตนก็ดูดี น่าจะขายได้แต่ก็ขายไม่ได้สักที จนบางรายกระเป๋าฉีกไปหลายใบเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ และทุกวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุใดนั้นลองติดตามดูนะครับ

อ่านต่อ

Sunday 6 November 2011

World Travel Market (WTM) London ไปทำไม ถ้าโรงแรมคุณไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐาน

งานแสดงสินค้าท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่อีกแหน่งหนึ่งของประเทศแถบยุโรปก็คืองาน World Travel Market (WTM) ที่กรุงลอนดอน ที่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละมากๆ เพื่อเดินทางไปร่วมงาน ด้วยหวังว่าจะได้ทำคอนแทรคกับ Tour Operator ที่ดินแดนผู้ดี(เก่า) แห่งนี้กลับมา
นักท่องเที่ยวจากประเทศอังกฤษนั้น จัดได้ว่่าเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพอีกตลาดหนึ่งที่ใครๆ ก็อยากได้ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจไปร่วมงานนั้น มีใครได้ศึกษากันบ้างหรือไม่ว่า Tour Operator แต่ละรายนั้น มี Profile อย่างไร มี Business Model อย่างไร มี Requirement อย่างไรบ้าง

ผู้ที่ไปร่วมงานเหล่านี้ รู้กันบ้างหรือไม่ว่า Tour Operator หลักๆ ในประเทศอังกฤษนั้น ได้มาซื้อกิจการของ Tour Operator รายใหญ่ๆ ในประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว (คนไทยแทบจะไม่เหลือพื้นที่ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท่องเที่ยวในประเทศไทย) การเซนต์คอนแทรคส่วนใหญ่นั้นต้องทำกับผู้แทนของ Tour Operator เหล่านี้ในประเทศไทย

Business Model ของ Tour Operator  เปลี่ยนแปลงไปจากการขายสินค้าท่องเที่ยวเฉพาะที่มีอยู่ใน Brochure หรือ Catalog เฉพาะของตนเองเท่านั้น ไปเป็นการขายสินค้าทางด้านท่องเที่ยวที่ XML ข้อมูลกับ Tour Operator ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันไป นอกจากนี้ธุรกิจ Travel Agent นั้น ก็จะเป็นกันเป็นระบบ Franchise ที่ Distributor หรือ Wholesaler ไม่ได้ตั้งอยู่ที่อังกฤษ

ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จดทะเบียนในประเทศอังกฤษ ต้องปฎิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ถ้ากิจการใดนำสินค้าและบริการที่ไม่เข้าเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้จะมีบทลงโทษที่รุนแรง Fire Detector คือหนึ่งในอุปกรณ์ที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จดทะเบียนในประเทศของเขา จะต้องใช้บริการห้องพักที่ผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เท่านั้น ต่อให้รีสอร์ทของท่านจะหรูเลิศ อลังการเพียงใด แค่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ก็หมดโอกาสที่จะขายในตลาดนี้ไปในทันที

ผมมีโอกาสไปร่วมงานที่นี่หลายครั้ง ไม่สงสัยว่าทำไมคนไทยไปนั่งตบยุงในงานนี้กันเป็นทิวแถว คุณล่ะมีประสบการณ์ไปนั่งตบยุงที่กรุงลอนดอนในขณะที่อุณหภูมิเกือบจะ 0 องศากันบ้างแล้วหรือยัง นอกจะต้องตบยุงแล้วก็ระวังจะตกม้าตาย ถ้าสินค้าที่คุณนำไปขายนั้นคือสินค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้

Thursday 3 November 2011

องค์ประกอบหลักของการทำ SEO และเครื่องมือที่ใช้

ในการทำ SEO นั้น เมื่อเราได้ทำการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว เราจำเป็นต้องเลือกใช้องค์ประกอบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการทำ SEO ของเรา โดยทำการปรับแต่ง องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้สามารถรองรับและสอดคล้องกับการทำ SEO ของเรา การทำ SEO จะไม่มีทางที่จะสัมฤทธิ์ผลได้ถ้าตราบใดไม่ทำเวบไซต์ของท่านให้มีความเหมาะสม กับการทำ SEO

อ่านต่อ

เข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำ SEO

Search Engine Optimization –SEO นั้นคือการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกที่ใช้ในการค้นหาของเวบไซต์ต่างๆ เพื่อให้ Search Engine ต่างๆ สามารถค้นหา และนำส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการค้นหา ที่มีอยู่ภายในเวบไซต์ของท่านออกมาแสดงเป็นผลลัพท์ของการค้นหาแต่ละครั้ง

อ่านต่อ

Wednesday 2 November 2011

ประโยชน์ 5 ประการของการใช้วิดีโอในเวบไซต์ของคุณ

5 benefits of using video on your website

ทุกวันนี้เวบไซต์สามารถนำเสนอเนื้อหาของสื่อได้หลากหลายรูปแบบ รวมไปถึง blogs RSS Feeds และ Social Networking วิดีโอสามารถแสดงบทบาทสื่อที่สำคัญในเวบไซต์ของคุณ วิดีโอกลายมาเป็นรูปแบบของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบถึง ต้นทุนที่ช่วยให้คุณแสดงถึงคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการของท่านในสิ่งที่ ข้อความและรูปภาพไม่สามารถกระทำได้ ปัจจุบัน YouTube และ Vimeo คือผู้ให้บริการวิดีโอออนไลน์ที่ได้รับความนิยม
อ่านต่อ

ประโยชน์ 5 ประการในการใช้งานการวิเคราะห์ของกูเกิ้ลสำหรับ SEO

5 Benefits of using Google Analytics for SEO


Google Analytics เป็นเครื่องมือฟรีที่คุณสามารถใช้ในการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับทิศทาง หรือทางเดินของผู้มาเยี่ยมชมเวบไซต์ของคุณที่ได้มีปฏิกริยาต่อกัน ระหว่างการดำเนินการ Search Engine Optimization คุณจำเป็นต้องใช้ Google Analytics ในการตรวจติดตามผลงานของคำต่างๆ เพื่อให้แคมเปญของท่านสัมฤทธิผล คุณจะทราบได้ว่ามีการจราจรมาน้อยเพียงใดที่แต่ละ keyword นำพาผู้ชมมาสู่เวบไซต์ของคุณ  Google Analytics จะช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่ของข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาเยี่ยมชมเวบไซต์ของคุณที่คุณ อาจจะไม่เคยได้รับทราบมาก่อน

อ่านต่อ

10 วิธีที่จะประเมินว่าเวบไซต์ของคุณที่มีอยู่ตกยุคไปแล้วหรือยัง


10 ways to know your website is out of date
ถ้าท่านยังไม่ได้อ่านบทความนี้อย่าเพิ่งไปหลงเชื่อคำชักจูง คำแนะนำให้ท่านจัดทำเวบไซต์ของท่านใหม่ เพราะจะทำให้เวบไซต์ของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น ไม่แน่ เวบไซต์ของท่านอาจจะยัง "In Train" (ไม่ใช่ In Trends นะครับอ่านแล้วแปลความหมายให้ดีๆ ดีกว่าฟังอย่างเดียวแล้วเข้าใจผิดได้)

1. Does updating your website's content require the involvement of your technical staff or a third-party vendor? การปรับปรุงเนื้อหาของเวบไซต์ของท่านต้องการผู้ให้บริการทางด้านเทคนิคจากภายนอกหรือไม่
ระบบการจัดการเนื้อหาที่ดีนั้นต้องเป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย พนักงานที่ได้รับการอบรมเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำการนำเนื้อหาที่ต้องการใส่เข้าไปในเวบไซต์ของท่านได้ โดยปราศจากความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมหรือการจัดการไฟล์ที่ยุ่งยากซับซ้อน
2. Do you manually collect customer information and then re-enter into a separate database? คุณยังจัดเก็บข้อมูลลูกค้าคุณ แล้วป้อนสู่ฐานข้อมูลแบบ Manual อยู่อีกหรือไม่
เวบไซต์ในปัจจุบันคุณสามารถสร้างรายชื่อบุคคลติดต่อ การลงทะเบียน และการสร้างแบบฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะช่วยให้คุณพบเป้าหมายทางด้านการตลาด ข้อมูลต่างๆ ได้รับการจัดเก็บออนไลน์อย่างปลอดภัย และสามารถส่งต่อไปยังพนักงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างอัตโนมัติ และนำไปใช้ในการติดต่อได้ในทันทีทันใด
3. Is the logo on your site consistent with the rest of your marketing collateral and branded materials? เครื่องหมายการค้าของคุณยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบทางด้านการตลาด หรือสิ่งประกอบของตราสินค้า
การไม่เปลี่ยนแปลงนั้นดีต่อการคงภาพลักษณ์ของอาชีพและความสามารถขององค์กร แต่เวบไซต์ของคุณควรที่จะสะท้อนถึงตราสินค้าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เวบไซต์ที่ดีในปัจจุบันต้องสามารถเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายการค้า สีสัน สีพื้น ตราสัญญลักษณ์ต่างๆ ได้ง่ายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
4. Does your site house "dynamic" content: i.e. - does the information on it change on a regular basis? เวบไซต์ของคุณมีเนื้อหาแบบพลวัตหรือไม่ กล่าวคือข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
เวบไซต์ของคุณมีหน้าที่เหมือนหน้าร้านเสมือนจริงของธุรกิจท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้นคุณควรออกแบบเวบไซต์ให้ลูกค้าหรือผู้ที่คาดหวังจะได้เป็นลูกค้าแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ของท่านบ่อยๆ คุณสามารถใช้จดหมายข่าว บทความ การโพสต์ข้อความใน Blog อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เวบไซต์ของท่านมีความสดใหม่ของเนื้อหาอยู่ตลอดเวลา เวบไซต์คุณต้องมี Site Map เพื่อสื่อสารและเป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลกับ Search Engine เพื่อให้เนื้อหาในเวบไซต์ของท่านนั้นได้รับการจัดอันดับในการแสดงผลจากการค้นหาอยู่ตลอดเวลา การจัดตารางการนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ให้แน่นอน จะช่วยให้ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์ของท่านรู้ว่าควรเข้ามาชมซ้ำอีกเมื่อใด การมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันภายใน ก็จะช่วยให้ผู้เยี่ยมชมใช้เวลากับเวบไซต์ของท่านนานมากยิ่งขึ้น
5. Are you spending a lot of money for a CMS that you don't know how to use? คุณเสียเงินทองไปมากมายกับระบบจัดการเนื้อหาที่คุณไม่รู้ว่าจะใช้งานอย่างไร
ระบบจัดการเนื้อหาในปัจจุบันมีระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน การสร้างเนื้อหาในเวบไซต์ของคุณสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับคุณเขียนอีเมล์ 1 ฉบับ แล้วส่งออกไปยังผู้รับ แต่แทนที่เนื้อหาเหล่านี้จะส่งไปยังผู้รับตาม email address ที่ท่านระบุไว้ เนื้อหาของท่านจะได้รับการพิมพ์เผยแพร่ไปในเวบไซต์ของคุณไปในทันทีทันใดโดยอัตโนมัติ ถ้าท่านรู้ว่าจะเขียนอีเมล์ส่งไปให้ผู้รับสักฉบับหนึ่ง นั่นหมายความว่าท่านก็สามารถสร้างเนื้อหาในเวบไซต์ของท่านเองได้เช่นกัน

อ่านต่อได้ที่นี่

10 แหล่งที่มาของเนื้อหาเวบไซต์ภายในองค์กรที่ไม่ค่อยมีคนรู้ (หรือใส่ใจ)

ในเมื่อการตลาดเชิงเนื้อหาสาระที่มองเห็นได้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อ ธุรกิจคุณ คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ ตลอดเวลา ถ้า Search Engine เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในเวบไซต์ของคุณ พวกเขาก็จะให้ความสนใจมากกว่า จะทำให้มีการเข้ามาสำรวจเนื้อหามากขึ้น และนำไปสู่การค้นหาที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เนื้อหาจึงเสมือนการเพิ่มขึ้นของหน้าเวบไซต์ และสร้างความเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ให้แก่เวบไซต์คุณ และเวบไซต์ของคุณจะได้รับความสนใจ


บ่อยครั้งที่ธุรกิจมักจะคิดว่านั่นคงทำให้เขาต้องทำการเพิ่มเติม เนื้อหาสาระไปตลอดชาติ และพวกเขาก็คงต้องงงงวยว่า “จะไปเอาเนื้อหาพวกนี้มาจากไหน”

ตัวอย่างต่อไปนี้คือ 10 แหล่งที่มาของเนื้อหาพื้นๆ จากภายในองค์กรของท่าน ที่คุณสามารถเพิ่มเข้าไปยังเวบไซต์ของคุณได้อย่างง่ายดาย และจะทำให้เวบไซต์ของท่านใหญ่ยิ่งขึ้น และจะได้รับความสนใจจาก Search Engine มากยิ่งขึ้น

อ่านต่อได้ที่นี่

Tuesday 1 November 2011

การจัดการประสบการณ์ลูกค้า



เป็นแนวความคิดทางด้านการตลาดเกี่ยวกับการบริหารจัดการประสบการณ์ของลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ผู้บริโภคต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดายโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโฆษณาขายสินค้าและบริการต่างๆ โดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายนั้นไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือจากกลุ่มผู้บริโภคมากนัก เพราะการโฆษณาเป็นการนำเสนอข้อมูลแต่ในทางที่ดีเพียงด้านเดียวตามธรรมชาติของการโฆษณา
ถ้าสินค้าและบริการเป็นเพียงสินค้าอุปโภคบริโภคโดยทั่วไปราคาไม่แพงมากนัก และไม่มีความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญ (low involvement products) ไม่ต้องการข้อมูลหรือเห็นผลสนับสนุนการตัดสินใจมากนัก ผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าเหล่านั้น แต่ถ้าเมื่อใดผู้บริโภคที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าราคาแพง ตัวสินค้าและบริการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (high involvement products) ผู้บริโภคนิยมที่จะค้นหาข้อมูลจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการหลายรายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติและประเมินความคุ้มค่าในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ ที่ผู้บริโภคพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมที่สุด

อ่านต่อได้ที่นี่

ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ VS ต้นทุนในการดูแลรักษาลูกค้าเก่า


จากผลการสำรวจและการวิจัยของนักวิชาการจากสถาบันที่มีชื่อเสียง และสำนักวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการบริหารจัดการลูกค้านั้นล้วสะท้อนผลที่ตรงกันว่า ” ต้นทุนในการได้มาซึ่งลูกค้าใหม่นั้น มากกว่าต้นทุนที่ใช้ในการดูแลรักษาลูกค้าเก่าของธุรกิจต่างๆ หลายเท่าตัว” แต่จะสูงกว่ากี่เท่านั้นมีอัตราที่แตกต่างกันไปตามธรรมชาติของแต่ละธุรกิจ
สาเหตุที่การได้มาซึ่งลูกค้าใหม่ต้องใช้ทรัพยากรของธุรกิจซึ่งถือเป็นต้นทุนไปจำนวนมากนั้น ก็เพราะว่า การหาลูกค้าใหม่เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำหรือดำเนินการกับคนจำนวนมากในลักษณะมวลชน กว่าจะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ และกลยุทธ์ทางด้านการตลาดของธุรกิจคู่แข่งของตนเองในตลาดเดียวกันจนกลายมาเป็นลูกค้าที่มาใช้สินค้าและบริการของธุรกิจของตนเองได้นั้นก็เหลือเป็นส่วนน้อย ดังภาพของ Marketing Funnel ที่แสดงไว้นี้
อ่านต่อได้ที่ http://www.ihotel2011.com

ส่วนแบ่งการตลาด VS ส่วนแบ่งของลูกค้า



ในธุรกิจยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ธุรกิจต่างๆ ต้องทุ่มเททรัพยากรทางด้านการตลาดของธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า (Customer Acquisition) เพื่อขายสินค้าหรือบริการของตน นำรายได้มาหล่อเลี้ยงและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจของตนในอดีตการแข่งขันทาง ธุรกิจนั้นมุ่งเน้นไปในด้านการขยายส่วนแบ่งทางด้านการตลาด (Market Share) ของธุรกิจตนเองในตลาดให้มากที่สุดเพราะความเชื่อที่ว่า การมีลูกค้ามาก ย่อมจะสามารถขายสินค้าและบริการได้มาก และจะได้เปรียบในด้านการแข่งขันด้านอื่นๆ
แต่การที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงแล้วขาดประสิทธิภาพในด้านการบริหาร จัดการที่ดีแล้วนั้น ย่อมส่งผลต่อต้นทุนในการรักษาส่วนแบ่งการตลาดของตนเองไว้ในระดับที่ตนเอง ต้องการ ถ้าธุรกิจมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงกว่าธุรกิจคู่แข่ง แต่ธุรกิจนั้นๆ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า (Customer Churn Rate) ในระดับที่สูงกว่าธุรกิจคู่แข่งแล้ว ผลประกอบการของธุรกิจโดยรวมของท่านอาจจะสู้คู่แข่งได้ เพราะมีต้นทุนดำเนินการในด้านหาลูกค้าที่สูงกว่า ส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรเบื้องต้นจากการดำเนินธุรกิจ (Gross Operating Profit : GOP) หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ในอัตราที่ต่ำ อันเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจของผู้บริหารในแนว ความคิดทางด้านการตลาดในปัจจุบัน นอกจากจะคำนึงถึง Market Share แล้ว นักการตลาดยุคใหม่จะมองลึกไปถึง Customer Share อีกด้วย และจะลดความสำคัญทางด้าน Market Share ลงไป แต่พยายามเพิ่ม Customer Share ของลูกค้าของตนให้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ihotel2011.com

Saturday 29 October 2011

ติดตามอ่าน Blog

ขออภัยที่ขาดหายไป แต่ที่จริงแล้วไม่ได้หายไปไหน แต่คงขัดข้องทางเทคนิค ที่ผ่านมา Blog ที่เขียนไว้เกิดหายไปจากระบบ ก็เลยเขียน Blog ใหม่เข้ามา 2-3 เรื่อง แต่แล้วจู่ๆ Blog ใหม่ เกิดหายไปอีก แล้ว Blog เก่าโผล่กลับมา ก็เลย งงๆ

เอาเป็นว่าท่านที่ติดตามอ่าน Blog ของผม สามารถหาอ่าน Blog ใหม่ๆ ได้ที่เวบไซต์

http://www.ihotel2011.com เป็นเวบไซต์หลักเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และ Solutions ต่าง ที่บูรณาการใช้งานด้านธุรกิจ
http://www.ihotelguru.com เป็นเวบไซต์ที่นำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับโรงแรม เหมาะสำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับงานด้านโรงแรม
http://www.ihoteliers.net เป็นสังคมและชุมชนออนไลน์ของแวดวงคนโรงแรม เหมาะสำหรับชาวโรงแรมทุกคน และ PR, Marketing Communication
http://www.ihotelmarketer.com สาระความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการตลาดโรงแรม เหมาะสำหรับผู้ทำงานเกี่ยวกับ Marketing โรงแรม และธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
http://www.ihotelcenter.com ศูนย์รวมสาระความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงแรม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจด้านการบริหารจัดการโรงแรมทั่วๆ ไป
http://www.ihoteljobs.net เป็น Free Jobs Board สำหรับงานทุกชนิด เหมาะสำหรับผู้ทำงานทางด้าน Human Resources
http://www.ihoteldirect.com เป็น Online Directory และ Direct Offers ของโรงแรมและธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เหมาะสำหรับผู้ทำงานด้านการตลาด
http://www.ihotelmart.net เป็น Market Place สำหรับ Hotel Supplies ที่เปิดให้บริการฟรีทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ เหมาะสำหรับผู้ทำงานด้านการจัดซื้อ

สำหรับผู้ที่ติดตามอ่าน Blog นี้ สามารถหาอ่านได้ตามเวบไซต์ต่างๆ ข้างต้น และสามารถสมัครใช้บริการต่างๆ ของเราที่จัดไว้ให้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกๆ ท่าน

คำแนะนำติชมของผู้อ่านทุกท่านคือกำลังใจให้กับผู้จัดทำ และจะเป็นแนวทางในการพัฒนาเนื้อหาสาระต่างๆ ให้ตรงกับความสนใจของทุกๆ ท่าน

การ Click ที่ Sponsor Banner Ads ในเวบไซต์ของเราทุกครั้งที่เข้ามาอ่าน คือการสนับสนุนให้เราสามารถคงอยู่ต่อไปได้ และนำสิ่งที่ดีๆ มีประโยชน์มานำเสนอให้กับทุกท่านได้ต่อไป

Monday 4 July 2011

iHotelDirect.Com : New Online Hotel Directory and Hotel Direct Offers

หลังจากที่ห่างหายจากการเข้ามาเขียนบล็อกนี้ไปเสียนาน กลับมาคราวนี้ขอแนะนำเวบไซต์ใหม่ที่ได้ใช้เวลาในการพัฒนาขื้นมาเพื่อบริการให้กับโรงแรมและสถานที่บริการห้องพักต่างๆ ได้ใช้เป็นสถานที่ในการนำเสนอสินค้าและบริการของตนเองให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป โดยไม่จำกัดว่าโรงแรมนั้นจะตั้งอยู่ที่ใด มีขนาดเท่าใด ประเภทของห้องพักที่ให้บริการเป็นเช่นไร เรายินดีขอเชิญเข้ามาใช้บริการของเรา
บริการนี้จัดให้ใช้ได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิกและบริการใดๆ สิ่งที่จะได้จากเวบไซต์ของเราคือ

  • ได้นำเสนอธุรกิจของท่านในทำเนียบธุรกิจออนไลน์ของเรา อันจะเป็นประโยชน์จากการค้นหาของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป
  • ได้นำเสนอรายละเอียดของวิธีการติดต่อกับโรงแรมโดยตรง โดยไม่มีการปิดบังข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เพราะวัตถุประสงค์ของเราคือการเผยแพร่ข้อมูลของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักให้แก่บุคคลโดยทัวไป เพื่อให้เขาเข้าถึงข้อมูลรายละเอียด และวิธีการติดต่อกับทางโรงแรมได้โดยตรง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดที่ทำเช่นนี้ เวบไซต์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งหมดนั้นจะนำเสนอเฉพาะธุรกิจที่เป็นสมาชิกของตนที่มีจำนวนจำกัด หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเวบไซต์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการรับจองห้องพัก ที่จะไม่แสดงรายละเอียดและวิธีการติดต่อกับโรงแรมโดยตรง เช่น โดนเมมเนม และอีเมล์แอดเดรสของทางโรงแรม ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้าถึงวิธีการติดต่อกับทางโรงแรมได้
  • โรงแรมและธุรกิจห้องพักที่เข้ามาใช้บริการ สามารถเข้ามาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือรายการส่งเสริมการขายของตนเองในเวบไซต์แห่งนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
  • ทางเวบไซต์จะจัดทำ Newsletter รายเดือนส่งให้แก่สมาชิก และ Travel Agents ทั้งในและต่างประเทศที่มีอยูในสารบบของเวบไซต์ เพื่อเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ต่อไป
  • สามารถใช้บริการประกาศรับสมัครงานผ่านเวบไซต์ในเครือของเราได้ที่ www.ihotelsjobs.net และใช้บริการเวบไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ iHotelGroup.Net ของเราทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน และที่จะจัดทำขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
  • สามารถเสนอขายห้องพักของท่านแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเวบไซต์ โดยราคาที่นำเสนอ เป็นราคาที่ทางธุรกิจสมาชิกเป็นผู้กำหนดเองผ่านระบบ iHotelDirecct.Com ของเรา การจองห้องพัก ระบบจะทำการส่งอีเมล์ไปยังสถานประกอบกิจการนั้นๆ โดยตรง การเรียกชำระเงินจากผู้จองนั้น ทางสถานประกอบการเรียกเก็บจากผู้จองได้โดยตรง โดยในเบื้องต้นนี้ ทางเราเปิดให้บริการฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด (แต่ในอนาคตอาจจะขอเรียกเก็บค่าใช้บริการบ้าง แต่ต่ำกว่าเวบไซต์อื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน)
  • ถ้าสถานประกอบการใดต้องการนำเสนอรายการส่งเสริมการขายให้เป็นการเฉพาะสมาชิกของเวบไซต์เรา ทางเราจะช่วยประชาสัมพันธ์ และนำเสนอให้ ผ่านทางเวบไซต์ www.ihotelclub.net เป็นการเฉพาะ
  • สถานประกอบการที่อยู่ในสารบบของเรา สามารถเข้าใช้บริการเวบไซต์ชุมชนออนไลน์ของคนโรงแรมได้ที่ www.ihoteliers.net เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนโรงแรมด้วยกัน และสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการขยายเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ผ่านระบบของเราได้ (ระบบนี้มีลักษณะเดียวกันกับ Facebook และเชื่อมโยงข้อมูลด้วยกันได้)
ยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมายที่ทางเราตั้งใจจัดทำขึ้นมาเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการที่จะสร้างเครือข่ายทางธุรกิจสำหรับคนโรงแรมชาวไทย ให้มีโอกาสได้นำเสนอธุรกิจของตนแก่ชาวโลกได้ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตอันเป็นนวัตกรรมใหม่ของการตลาดและบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมและสถานที่พักยุคใหม่ต่อไป

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ihotelgroup.net

Thursday 16 June 2011

ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ คุณคาดหวังอะไรจากเจ้าหน้าที่ด้าน IT หนึ่งคน

วันนี้ขอหยิบยกประเด็นเรื่องนี้มานำเสนอ เพราะเรื่องนี้มักจะทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ล้วนเข้าใจผิดและล้มเหลวในการริเริ่มที่จะใช้ Information Technology มาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ประหยัดเวลาในการค้นหา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เป็นเอกสารเพื่อจ่ายแจก และสามารถจะช่วยให้ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย

หลายหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ทางด้าน IT หนึ่งคนแล้ว พอมีงานอะไรก็แล้วแต่ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ก็จะโยน หรือมอบหมายงานนั้นให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ทางด้าน IT เพราะคาดหวังว่าเขาจะเป็นคนที่รู้และเข้าใจวิธีการทำงานมากที่สุด โดยหาได้คิดสักนิดไม่ว่า บุคลากรทางด้าน IT นั้นมีการแบ่งสายงานแยกย่อยออกไปอีกมากมายหลายแขนงจนสามารถเรียนปลีกย่อยกันจนถึงระดับต๊อกเตอร์ได้เลยทีเดียว

แม้แต่พ่อมดแห่งวงการคอมพิวเตอร์อย่างบิลล์ เกตต์ คุณอย่าคิดว่าเขาจะสามารถทำได้ทุกเรื่องที่เกี่่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือผู้ก่อตั้ง Facebook ที่โด่งดังก็ตาม

ตอนเริ่มต้นทำงานที่โรงแรมเดมาใหม่ๆ อะไรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต อยู่ในความรับผิดชอบของ EDP ทั้งหมด แม้กระทั่งงานที่เกี่ยวข้องกับการขายผ่านระบบออนไลน์ ทั้งๆ ที่เนื้องานส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับการตลาด และการขาย แต่ไปอยู่ในความรับผิดชอบของ EDP เพราะว่ามันต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตในการทำงานนั่นเอง

คราวนี้ลองมาคิดตามผมดูสักนิดว่า
- งานตกแต่งรูปภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
- งานด้านการควบคุมการขาย ควบคุมรายได้ และห้องพักผ่านระบบออนไลน์ ควรอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
- งานด้านการออกแบบเวบไซต์ การบริหารข้อมูลที่นำเสนอในเวบไซต์ ควรอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
- งานด้านการจัดหาและประยุกต์ใช้ Application หรือ Solutions ต่างที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลงาน(ผลผลิต) เพิ่มมากขึ้นอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
- งานด้านการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เพื่อนำเอาข้อมูลมาจัดทำแผนกลยุทธ์ในการทำงาน อยู่ในความรับผิดชอบของใคร

หัวข้อข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ บางส่วน ที่หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นให้คิดกันว่าเจ้าหน้าที่ IT ขององค์กรหนึ่งคนนั้น มันเพียงพอแล้วหรือที่จะนำพาองค์กรของท่านไปสู่การแข่งขันกันในโลกของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร

ลองพิจารณาดูนะครับว่าองค์กรของท่านกำลังดำเนินการอยู่เช่นนั้นหรือไม่ ฝากไว้ให้คิด

Saturday 23 April 2011

เปิดสอนการทำเวบไซต์ด้วย Joomla & Community Building (รุ่นว่างงานเลยอยากสอน)

เนื้อหาการฝึกอบรมแบบเข้มข้น ใช้งานได้จริง
  • การจำลอง Web Server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
  • การตั้งค่า และ ติดตั้ง โปรแกรม Joola
  • การติดตั้ง Joomla Component, Module, Plugin & Template
  • การสร้าง Sections, Categories และ Articles
  • การสร้าง Menu
  • การสร้าง Catalog
  • การสร้าง Community Building, Social Networking
  • การปรับแต่ง โปรแกรม เพิ่มลูกเล่น ต่างๆ ในเวบไซต์ ให้น่าสนใจ และใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์
  • Etension สำหรับธุรกิจต่างๆ
  • E-commerce และ การหารายได้จากเวบไซต์
  • ฯลฯ
รายละเอียดการฝึกอบรม
  • เปิดอบรม วันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันที่มีการนัดหมายล่วงหน้า ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และระยะเวลา (สำหรับ 10 ท่านแรกเท่านั้น)
  • เวลาในการอบรม มาอบรมได้ตามอัธยาศัย
  • สถานที่อบรม คอนโดของผู้อบรม ซอยลาดพร้าว 124 (ใกล้ๆ ซอยมหาดไทย)
  • การชำระเงิน แบ่งจ่ายได้ตามอัธยาศัย (นักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีงานทำ สอนให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งหางานพิเศษให้)
  • สามารถขอให้บริการ Support ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • สอนแบบรายบุคคล ไม่เป็นต้องเรียนต่อเนื่องเป็นกลุ่ม
หมายเหตุ
  • ผู้เข้ารับการอบรมต้องนำ Notebook มาเอง
  • ถ้าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาจากต่างจังหวัด มีที่พักให้สำหรับ 2-3 ท่าน

Thursday 21 April 2011

รู้เรื่อง SEO โดยไม่ได้ตั้งใจ

ผู้เขียนเองนั้นมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์ เน็ตมาเป็นระยะเวลายาวนาน ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ยุคเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย และยุคที่คอมพิวเตอร์โน้ตบุคราคาเครื่องละกว่าแสนบาท
 
ปี ค.ศ.1988 เริ่มทำงานด้านโรงแรมที่โรงแรม Le Meridien Phuket (ช่วงเปิดโรงแรม) ในตำแหน่ง Front Office Clerck นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสทำงานโรงแรม และได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน และก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน คอมพิวเตอร์
 
ปี ค.ศ. 1990 ศึกษาวิชาคอมพิวตอร์พื้นฐานที่สถาบันคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์แก่บุคคลภายนอกเป็นยุคต้นๆ
 
ปี ค.ศ. 1991 ศึกษาวิชาการเขียนโปรแกรมฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานด้วยโปรแกรม dBase และ Clipper และได้พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบริหารงานคลังสินค้า และบริหารงานบุคคล เงินเดือน และค่าจ้างมาใช้งานในองค์กร
 
ปี ค.ศ. 1992 ใช้โปรแกรม Fox Pro พัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการร้านให้เช่าวิดีโอด้วยระบบบาร์โค๊ดอกจำหน่ายออก จำหน่ายภายใต้ชื่อ Sala Video เป็นอาชีพเสริม ซึ่งได้รับการตอบรับจากศูนย์วิดีโอให้เช่าต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอย่างดี

ในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้เขียนเริ่มต้นการใช้งานสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านห้องสมุดออนไลน์ในต่างประเทศตั้งแต่ยุคก่อนที่ www จะมาได้รับความนิยมและแพร่หลายดังเช่นในปัจจุบัน

ในสมัยนั้นการที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ต้องใช้ Modem เชื่อมต่อเข้าไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพื่อที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายในต่างประเทศ การใช้งานต้องใช้คำสั่งเฉพาะในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งไม่ง่ายเลยในการที่จะหาข้อมูลแต่ละอย่าง

ต่อมาเมื่อมีบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชนทั่วไป การใช้อินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่ดี เพราะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในยุคต้นๆ นั้น ต้องใช้โมเด็มเชื่อมต่อสัญญาณมายังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นยังพักอาศัยอยู่ที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค่าโทรศัพท์คิดเป็นนาที เพราะถือว่าเป็นการโทรทางไกล ในขณะที่ค่าบริการอินเทอร์เน็ตสมัยนั้นยังคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง ลองจินตนาการดูนะครับว่า ค่าใช้จ่ายจะมโหฬารขนาดไหนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

แม้ ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในขณะนั้น แต่ผู้เขียนก็ได้เริ่มต้นศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำเวบไซต์ การเขียนโฮมเพจ และเริ่มลองจัดทำโฮมเพจส่วนตัวของตนเองโดยใช้ฟรีโฮสของ Geocities.Com และเริ่มต้นทำธุรกิจ e-commerce โดยการเป็นหน้าร้านขายหนังสือให้กับ Amazon.Com ในลักษณะของ Affiliates

การ เป็น Affiliates กับ Amazon.Com ในสมัยนั้น ไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ คุณต้องรู้จักวิธีการที่จะนำเอา Code ต่างๆ ของเขามาใส่ในโฮมเพจของเราให้ถูกต้อง ดังนั้นเราต้องรู้จักวิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่ใช่ปัญหาาสำหรับผม เพราะยังง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมบริหารร้านวิดีโอที่แค่โมมูลเดียวมีคำสั่ง ต่างๆ หลายพันบรรทัด

ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มพัฒนาเวบไซต์อีกเวบไซต์หนึ่งขึ้นมา เป็นเวบไซต์ของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ซึ่งเคยทำงานอยู่ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ที่สนใจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีข้อมูลประกอบอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง รวมทั้งข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย และเป็นเวบไซต์แรกที่มีข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ใน ขณะนั้นยังไม่รู้จัก SEO อะไรหรอกครับ เพราะว่าไม่ได้หวังผลทางธุรกิจแต่อย่างใด การทำเวบไซต์ก็ลงทุนทำเอง ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง ทำขึ้นมาเพื่อสนับสนุนงานของตนเองที่ในแต่จะวันจะมีคนเขียนจดหมาย หรือโทรเข้ามาขอข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะช่วงนั้นก็ยังเป็นช่วงที่กำลังได้รับความนิยม การทำเวบไซต์เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ จึงเป็นการลดภาระของงานประจำที่ต้องคอยให้ข้อมูลแก่สาธารณะชนทั่วไปในฐานะ ของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

เพื่อความสะดวกในการ ค้นห้า ผมจึงได้ Submit เวบไซต์ของตนเองไปตาม Online Directory ต่างๆ Search Engine ต่าง ที่ละราย ซึ่งในขณะนั้นยังมีอยู่ไม่กี่ราย ไม่ไ้ด้หวังในด้านการโฆษณา แต่หวังว่าจะได้ค้นหาได้สะดวก

ทำ เวบไซต์ได้ไม่นาน ก็เริ่มมี Webmaster ของเวบไซต์อื่นๆ ส่งอีเมล์มาขอแลกลิงค์ บ้างก็ขอแลกแบนเนอร์ ใครขอมา ก็จัดให้ไปตามนั้น เพื่อจะได้เชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายให้คนอื่นรู้จัก ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่รู้จัก Link Popularity นอกจากนั้น ก็ได้ทำเวบเพจไว้หนึ่งหน้า ในการทำ web links ไปยังหน่วยงานราชการและเอกชนที่ให้การสนับสนุนกิจการของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ด้วยดีเสมอมา เพื่อเป็นการขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน

และ แล้ววันหนึ่ง ผมก็ได้รับโทรศัพท์จาก Director of Sales ของโรงแรมกรุงศรีวิเวอร์ ซึ่งเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น ซึ่งผมเองไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว เขาโทรมาขอบคุณที่ช่วย Lead ลูกค้ามาให้เขา

ผมงงเป็นไก่ตาแตก ผมไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเขา ผมเองก็ไม่เคยไปข้องแวะอะไรกับเขา แล้วเราไป Lead ลูกค้าให้เขาได้อย่างไร?

"ก็ ลูกค้าเขาค้นหาในอินเทอร์เน็ต แล้วคุณมีชื่อโรงแรมและเบอร์โทรศัพท์ของเราในเวบไซต์ของคุณ ในหน้าที่คุณแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลูกค้าเลยโทรมาหาเพื่อขอทำคอนแทรค"

ได้เรื่องเลย ครับคราวนี้ จากที่ไม่รู้จักเรื่อง SEO ผมได้ทดลองค้นหาคำต่างๆ ใน Search Engine ที่มีอยู่ในขณะนั้น ค้นหาอะไรๆ ก็จะมีเวบไซต์ของเราติดขึ้นมาด้วย จึงได้ร้อง "อ๋อ... มันเป็นเช่นนี้เอง" และเป็นที่มาของการู้จัก SEO และ link popularity ที่ธุรกิจในประเทศไทยยังไม่เคยมีใครพูดถึงในขณะนั้น

Thursday 14 April 2011

เคล็ดลับ การทำเวบโรงแรม ตอนที่ 1

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีเนื้อหามามาก จึงต้องแบ่งเป็นตอนๆ และยังไม่รู้ว่าจะต้องเขียนสักกี่ตอนจึงจะจบ เพราะมีรายละเอียดมากมาย และเชื่อว่าโรงแรมต่างๆ จำนวนมาก ไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เพราะผู้ที่มารับจ้างทำเวบไซต์ให้กับโรงแรมต่างๆ ก็พยายามที่จะนำเสนอ Solutions ของตนเองเป็นหลัก เพราะเป็นช่องทางในการทำมาหากินของเขา และมักจะบอกว่าเวบที่โรงแรมใช้อยู่ไม่ดีอย่างนั้น อย่างนี้ เพื่อพยายามขาย Solutions ของตนเอง ส่วนเจ้าของโรงแรมที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เห็นว่า โรงแรมเชนห้าดาวเขาใช้อย่างนั้น ก็ทำตามเขาบ้างโดยหารู้ความจริงไม่ที่ว่า...

โรงแรมเชนทั้งหลายแหล่ ไม่ประสงค์ที่จะให้ผู้เข้าชมเวบมีโอกาสติดต่อตรงกับทางโรงแรม ถ้าไม่เชื่อลองไปเปิดเวบไซต์โรงแรมเชนใหญ่ๆ ดูได้ว่า ถ้าท่านต้องการ e-mail address เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร เพื่อใช้ในการติดต่อ โรงแรมโดยตรง หาแทบไม่เจอ นั่นคือการปิดกั้นวิธีการเข้าถึงการติดต่อกับโรงแรมโดยตรง

การนำเสนอเนื้อหาในเวบไซต์ของเวบโรงแรมเชนใหญ่ๆ จะมีพื้นที่ในการนำเสนอเนื้อหาอยู่จำกัด และรูปแบบเนื้อหาอยู่ในกรอบของเวบไซต์ของเชน ไม่สนับสนุนต่อเนื้อหาสำหรับนำเสนอธุรกิจเฉพาะโรงแรมแต่ละแห่ง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับโรงแรมอื่นๆ ในท้องถิ่นของตนเองได้ ที่เป็นเช่นนั่นก็เพราะว่า เชนโรงแรมส่วนใหญ่จะได้ส่วนแบ่งจากการขายห้องพักเป็นรายได้ของเชน ในขณะที่การขายสินค้าและบริการอื่นๆ ของโรงแรมในเชนนั้นทางเชนไม่ได้รับรับส่วนแบ่งผลประโยชน์ ดังนั้นเวบไซต์เชนโรงแรมต่างๆ จึงมุ่งเน้นไปที่การขายห้องพักที่พวกเขาจะได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์

เราจะสังเกตุเห็นว่าการนำเสนอรูปภาพโรงแรมตามเวบไซต์เชนโรงแรมต่างๆ นั้น เน้นที่จะนำเสนอภาพเคลื่อนไหว และภาพที่มีเทคนิคหลากหลาย มากกว่าภาพนิ่งที่เป็นเอกเทศของแต่ละภาพ ถ้าเราจะมองเฉพาะด้านความสวยงามและ ภาพลักษณ์ที่ดีของเวบไซต์ ก็จะรู้สึกว่าสวยงามดี ดูหรูหรา เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของเชนโรงแรมเหล่านั้นเอง แต่โดยแท้จริงแล้ว วิธีการออกแบบเวบไซต์เชนโรงแรมเหล่านี้มีแนวความคิดในการออกแบบที่ลึกซึ้งไปมากกว่านั้น นั่นคือ...

เวบไซต์ของเชนโรงแรมเหล่านี้ ต้องไม่นำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลของโรงแรมภายในเชนของตนเองได้โดยตรง และทำสำคัญ ส่วนใหญ่จะปิดกั้น SEO ไว้โดยสิ้นเชิง เพราะอะไรน่ะหรือครับ...

ท่านเคยได้ยินคำนี้ไหมครับ "สวย แต่ปัญญาอ่อน" ไม่ทราบว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ ท่านอยากได้เป็นภรรยาในอนาคตไหมครับ

คราวนี้ตามผมมาครับ จะอธิบายให้ทราบว่า ทำไมผมพูดไปเช่นนั้น
1. หน้าแรก ถ้าเข้ามาแล้วเจอ Intro Flash หรือ Movie ก่อนแล้วต้องคลิ๊กไปหน้าต่อไป เวบแบบนี้ พอ Google เข้ามาเจอ ก็จะบอกว่า Good Bye Forever เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะว่าเข้ามาแล้วเจอทางตัน ไม่รู้ว่าจะไปไหนต่อละซิครับ เพราะ Robot ของ Google เอง ไม่ฉลาดพอที่จะคลิ๊ก เพื่อเข้าไปดูหน้าอื่นๆ ต่อ

2. เวบไซต์ใดๆ ที่หน้าแรก หรือ Home Page ที่เปิดเข้ามาแล้ว เจอภาพ Flash หรือ Movie แล้วตามมาด้วย Flash Menu พอ Google เข้ามา เพื่อที่จะหาข้อมูลของเวบไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล พอเข้ามาเจอ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่มีเนื้อหาที่เป็นข้อความ หรือมีข้อความอยู่น้อย ไม่มีชื่อรูปภาพที่เป็นชื่อเฉพาะ ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บอะไรไปไว้ในฐานข้อมูลตัวเอง ที่แย่ไปกว่านั้น ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระหลักของเวบไซต์ที่ควรจะเป็นข้อความ ก็ยังดันทุรัง ทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหวซะอีกนี่ซิไปกันใหญ่ ดังนั้น หน้าแรก ควรที่รูปภาพที่มีชื่อเฉพาะของภาพนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวบไซต์ และเนื้อหาสาระหลักที่จะนำเสนอไว้ในหน้าแรกให้มากที่สุด Robot ของ Google จึงจะชอบใจ และใช้เวลาอยู่กับเวบไซต์ของเรามากกว่า ที่พอเข้ามาแล้วก็จากไป

3. เมนูแฟลซที่สวยงาม คือนิยามของ "ไร้สาระ" ที่ว่าอย่างนั้นก็เพราะว่า เมนูแฟลซที่สวยงามนั้น Robot ของ Google จะมามองไม่เห็นถึงทางเดินที่จะเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ภายในเวบไซต์นั้นได้ ซึ่งเป็นความหมายของ "ไร้สาระ" เนื้อหาที่จะค้นหาต่อไปได้ แต่ถ้าเวบไซต์ใดๆ ที่มีเมนู หรือ Text Link ไปยัง หน้าเวบไซต์อื่นๆ ก็เป็นเหมือนสะพานที่ทอดไว้ให้ Robot ของ Google ได้วิ่งเข้าไปสำรวจเนื้อหาสาระภายใน เก็บไปเสนอเจ้านายว่าเวบไซต์นี้มีเนื้อหาสาระมากมาย เข้าไปแล้วได้ประโยชน์

เจ้า Robot ของ Google นี่เขาทำงานตรงไปตรงมานะครับ รายงานตามข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริง ไม่เหมือน Sales หลายๆ คน ที่ดีแต่เขียนรายงานให้สวยหรู ดูดี แต่ไม่มีผลงาน ที่ชอบไปแต่ไปงานที่เขาจัดขึ้นมาฟรี แล้วเก็บไปเขียน Report เจ้านายแทนการไปออก Sales จริงไ ได้เป็นอาทิตย์

ตอนที่ 1 นี้ แค่เรียกน้ำย่อยนะครับ จงเจ็บๆ คันๆ กันไปบ้าง ก็อย่าว่ากันเลย ใครไม่ชอบอ่าน ก็ไม่ต้องผ่านมาแถวนี้เลยครับ ไม่ได้ว่ากัน

ชื่อรูปนั้น สำคัญไฉน

วันนี้มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยมาฝากกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์นะครับ พอดีกลับมาเยี่ยมแม่ที่จันทบุรี ว่างๆ
ไม่มีอะไรทำ นึกขึ้นได้เกี่ยวกับรูปภาพต่างๆ ที่มีผู้นำมาใช้ในเวบไซต์ต่างๆ นั้น หลายๆ คนคงไม่เคยนึกว่า การตั้งชื่อรูปภาพต่างๆ นั้นให้มีความหมาย ให้มีชื่อสอดคล้อง หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนนั้น ก็สามารถที่จะใช้ในการทำ Lead Generation ได้เป็นอย่างดี

รูปภาพแต่ละภาพที่เรานำขึ้นมาแสดงในเวบเซต์ของเราเองนั้น เราสามารถตั้งชื่อไฟล์ 2 ประเภทคือ
1. ชื่อไฟล์ของภาพ นั่นก็คือชื่อเฉพาะประจำภาพนั้นๆ
2. ชื่อภาพ คือชื่อที่เราใช้ในการบรรยายภาพนั้นๆ สั้นๆ เมื่อเรานำขึ้นมาแสดงบนเวบไซต์ ซึ่งเมื่อผู้เข้าชมเวบไซต์เคลื่อนเม้าส์มาบนภาพนั้น ก็จะปราำกฎชื่อบรรยายภาพนั้นขึ้นมาให้เห็น

ท่านทราบหรือไม่ว่า ทุกครั้งที่เรามีการค้นหาคำ หรือข้อความใดๆ ใน Google นั้น Google ก็จะทำการค้นหาชื่อภาพ และคำบรรยายภาพขึ้นมาแสดงด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อไฟล์รูปภาพ และชื่อภาพที่แสดงในเวบไซต์ให้มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือสินค้าและบริการของท่าน จึงสามารถที่จะ Lead ผู้เข้ามาชมเวบไซต์ของท่านได้มากกว่าการตั้งชื่อไฟล์ และชื่อรูปภาพที่ไม่สื่ออะไรเลย

ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ ไม่มีบริษัทที่รับทำ SEO รายใดที่เสนอตัวเข้ามารับทำ SEO ให้ท่านจะเผยเคล็ดลับนี้ออกมาให้ท่านได้ล่วงรู้  ไม่เช่นนั้นแล้วเขาก็จะหากินได้ลำบาก

Tuesday 12 April 2011

การดูแลงาน Function คือ Lead Generation สำหรับ Sales

 ไหนๆ ลงมือเขียนแล้ว ก็เลยขอเขียนเสนอแนวความคิดทางด้านการขายให้กับน้องๆ ที่ทำงานด้านการขายของโรงแรมเกี่ยวกับการขายงานฟังก์ชั่นของโรงแรมต่ออีกสักเล็กน้อย

ในมุมมองของผู้บริหารโรงแรมยุคไดโนเสาร์ มักจะบริหารงานในลักษณะของ Functional คือมีการแบ่งแยกหน้าที่ของแต่ละคนออกไปอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยคิดว่าให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเขาทำงานไป โดยไม่เคยคิดเอาแนวการบริหารงานแบบบูรณาการมาใช้ในการบริหารงานให้สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบัน

ที่ผมใช้หัวข้อนี้มาเขียนก็เพราะว่าผู้บริหารโรงแรมหัวโบราณมักจะมี Mind Set ฝังไว้ในหัวอยู่ตลอดว่า เซลส์มีหน้าที่ในการออกไปหาลูกค้า ไปหาธุรกิจเข้ามาสู่โรงแรม ส่วนการดูแลลูกค้าที่มาใช้บริการภายในโรงแรมนั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานปฏิบัติการภายในโรงแรมเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

ดังนั้นในโรงแรมที่มีผู้บริหารหัวโบราณจึงจะมีการแบ่ง Sales Team ออกไปตาม Function หรือลักษณะของ Specialist คือ คนนึงไปขาย Agents คนนึงไปขาย Corporates คนนึงไปขายงาน Functions ออกไปอย่างชัดเจน แล้วแต่ละคนก็รับผิดชอบเป้าการขายระหว่างหัองพัก กับ function ออกจากกันอย่างชัดเจน

ทีนี้ลองนึกภาพตามผมนะครับว่า Agent รายหนึ่ง มีกรุ๊ปประชุมสัมนา ของ Corporate รายใหญ่เจ้าหนึ่งต้องการมาใช้บริการที่โรงแรม แล้วทางโรงแรมจะให้งานชิ้นนี้กับใครไปดูแล ถ้า
1. เอเย่นต์สนิทกับเซลส์ที่เป็นเซลส์ทางด้านเอเย่นต์ และเชื่อมั่นว่าเซลส์ที่ตนเองรู้จักและใช้บริการกันมานานเป็นผู้ดูแลลูกค้าของเขา
2. ทางผู้บริหารโรงแรมเห็นว่าบริษัทนี้ก็เป็นลูกค้าของเซลส์ Corporate  ที่มาใช้บริการโรงแรมอยู่เนืองๆ ก็ต้องเป็นลูกค้าของเซลส์ Corporate (แต่คราวนี้ใช้ผ่านเอเย่นต์ เพราะต้องการใช้บริการอื่นๆ ของเอเย่นต์ หรือ Organizer ด้วย)
3. การขายงานฟังค์ชั่น อยู่ในความดูแลของเซลส์ฟังค์ชั่น และให้เข้าไปคุยกับลูกค้าที่เป็นเอเย่นต์ในรายละเอียด
4. เวลามีงานฟังค์ชั่นจริงๆ งานทั้งหมดอยู่ในความดูแลของพนักงานปฎิบัติการของทางโรงแรม แล้วเซลส์ทั้งสามคนข้างต้นไม่ต้องมาคอยดูแล

ผมแค่ยกตัวอย่างมาแค่นี้ ใครก็ตามที่มีประสบการณ์ลักษณะนี้คงนึกในใจละว่า "โอละพ่อ ละงานนี้" ทำไมเหรอครับ ก็เพราะว่างานนี้แลกมาด้วยการได้งานนี้มาทำ กับการเสียอนาคนของเซลส์อีก 3 คนข้างต้นเพราะแนวการบริหารงานของผู้บริหารงานหัวโบราณ เพราะว่า...

1. เสียลูกค้าที่เป็นเอเย่นต์ เพราะไม่คุ้นกับการที่ต้องติดต่องานกับคนหลายๆ คน ต้องพูดเรื่องเดียวกันสามรอบ หรือไม่ก็จะเกิดการโยนกลองซึ่งกันและกัน
2. ลูกค้า Corporates ที่มาใช้บริการ แต่ไม่ใช่คนจ่ายตังค์ และไม่ใช่ Organizer งานนี้ ก็จะเอาโน่นเอานี่ตามที่ตนเองเคยได้โดยหาคิดไม่ว่า คราวนี้เอเย่นต์เป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และเป็นผู้จัดงาน
3. Sales ที่ขายฟังค์ชั่น ก็จ้องจะชาร์จดะโน่นนั่นนี่ ตามประสาของคนขาย F&B ที่งกและต้องขายแล้วให้ F&B มีกำไรไม่น้อยกว่า 30% ตามเกณฑ์มาตรฐานของตนเอง

พอถึงเวลางานจริงๆ Sales ทั้งสามคน ไม่มีใครอยู่ดูแลงาน ปล่อยให้ทุกอย่างอยู่ในการดูแลของฝ่ายปฎิบัติการ (ลองนึกภาพตามนะครับ) ลูกค้า Corporate ที่มาร่วมงานฟังค์ชั่นต้องการอะไรสักอย่าง ใครจะตัดสินใจว่าจะให้ฟรีหรือจะชาร์จ ถ้าให้ฟรี จะให้เป็นค่าใช้จ่ายของแผนกไหน เพราะมีทั้งห้องพัก มีทั้งงานฟังค์ชั่น ถ้าจะชาร์จ จะชาร์จใคร ฯลฯ ถ้าเกิดปัญหาอะไร จะต้องติดต่อใคร ใครจะตัดสินใจ หรือรับผิดชอบ หรือว่า งานนี้งานเดียว จะต้องเอา Sales ทั้ง 3 คนมาดูแลงาน เพราะแต่ละคนไม่รู้รายละเอียดของงานแต่ละคน (นึกมาถึงตรงนี้ผมละอดคิดถึงประสบการณ์เก่าๆ ไม่ได้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับงานนี้ขึ้นผมเชื่อได้ว่าเจ้านายเก่าผมคงจะหลบไปนอนที่ห้องพักของตัวเองเป็นแน่แท้ แล้วก็ปล่อยให้พนักงานตัวเล็กๆ ไปรับหน้าตามระเบียบ)

งานฟังค์ชั่นงานนี้ถ้าเป็นงานใหญ่ มีผู้มาร่วมงานจากสถานที่ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จะเอาแบบให้เขามาใช้บริการครั้งเดียวเท่านั้นหรือ การไล่ Sales ออกไปหาลูกค้าใหม่ข้างนอก วันๆ นึง เซลส์จะไปหาลูกค้าได้กี่ราย ไปหาแล้วเขาจะมีโอกาสได้มาลองใช้บริการบ้างหรือไม่ก็ยังไม่รู้...

แล้วลูกค้าที่มาร่วมงานฟังค์ชั่นล่ะ มีจำนวนกี่คนมีประสบการณ์ในการใช้บริการอย่างไร ถ้าผู้บริหารโรงแรมมีหัวคิดแบบบูรณาการตามหลักการบริหารงานสมัยใหม่ย่อมจะต้องคิดว่า งานฟังค์ชั่นใหญ่ๆ แต่ละงานนั่นคือโอกาสของ Lead Generation และ Customer Engagement ที่ยิ่งใหญ่ แล้วทำไมจึงจะไล่เซลส์ออกไปเซลส์ แล้วทิ้งงานไว้กับพนักงานปฏิบัติการ

ผู้บริหารโรงแรมหัวโบราณบางคนอาจจะแย้งว่า ที่โรงแรมก็ดูแลได้ บริการให้ดีๆ เดี๋ยวเขาก็กลับมาใช้บริการเองแหละ แต่...

ท่านผู้บริหารที่ไร้สมองทั้งหลายครับ อย่าคิดว่าการขายนั้นมันง่ายแค่นั้น ถ้าจะให้ดี ลองไปศึกษากระบวนการขายที่นักวิชาการทั้งหลายเขาศึกษาวิจัย และเขียนตำราไว้ให้ศึกษากันมากมายครับว่า กระบวนการขายนั้นมีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนนั้นต้องใช้ทักษะและความสามารถพิเศษ หรือความไว้วางใจอะไรอย่างไรกันบ้าง

แค่มุมมองในการขายกับการตลาดก็ต่างกันแล้วครับ แค่งานนี้ F&B จ้องจะฟันดะอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึง Overall revenue หรือ Total Turnover ก็จะเสียธุรกิจไปทั้งหมด หรือ...

ถ้าจะฟันกำไรจากงานนี้ให้เต็มที่ ก็ระวังจะเสียธุรกิจที่เคยได้จากเอเย่นต์รายนี้ที่มีมาให้โรงแรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ

หรือถ้าผู้บริหารโรงแรมเข้าไป Involve หรือไป Override ข้อเสนอต่างๆ ของเซลส์ที่เป็นคนขาย ต่อไปก็ไม่ต้องให้เซลส์คนนั้นไปขายอะไรให้ลูกค้าอีกต่อไป เพราะต่อไปลูกค้าไม่คุยกับเซลส์คนนั้น มีอะไรก็จะคุยกับนายอย่างเดียว แล้วอีกหน่อย เจ้านายก็เป็นคนที่ต้องมาขายแทนเซลส์ ขายถูกบ้าง ผิดบ้าง หรือไม่สามารถปิิดการขายได้ เพราะไม่มี Salesmanship และศิลปะในการเจรจาต่อรอง และไม่รู้จักวิธีการต่อยอดด้วยการเสนอขายสินค้าให้แก่ลูกค้าที่มาอยู่รวมกันที่โรงแรมของตนเองอยู่ในขณะนี้

อีกประการหนึ่งที่ท่านผู้บริหารโรงแรมมักจะไม่เคยคำนึงถึงว่า Lead Generation นั้น Conference เป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการนำเอาลูกค้าเป้าหมายมาร่วม Conference ตามโรงแรมต่างๆ เพื่อให้มีโอกาสได้นำเสนอสินค้าและบริการ ได้มีโอกาสพบปะทำความรู้จักและคุ้นเคยกัน ฯลฯ แต่นี่มีคนจ่ายเงินให้ จัดงานฟังค์ชั่นในโรงแรม แล้วทำไมทางโรงแรมไม่ใช้โอกาสนี้มาใช้ในการทำ Lead Generation กับผู้มา่ร่วมงานเหล่านี้

อีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารโรงแรมต่างๆ มักจะมองข้าม หรือ "มีแต่หัววางไ้ว้ให้หนักบ่า หามีปัญญาไม่" ก็คือ เคยให้ความสำคัญเกี่ยวกับหัวข้อการอบรมสัมนาต่างๆ ที่เขามาใช้บริการที่โรงแรมหรือไม่ แล้วทำไมหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องลงทุนจ่ายเงินแพงๆ จ้างเอเย่นต์มาจัดการให้ จ้างวิทยากรชื่อดังค่าตัวแพงๆ มาอบรมให้ แล้วทำไมไม่ใช้โอกาสอย่างนี้ในการที่จะให้เซลส์ของโรงแรมได้มีโอกาสพัฒนาความรู้และศักยภาพในการแฝงตัวเข้าไปดูแลงานฟังค์ชั่นพร้อมไปกับการได้รับฟังการบรรยาย การอบรมความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ ที่ใครๆ เขายอมจ่ายเงินมากมายเพื่อให้มีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้

ผู้บริหารโรงแรมหัวโบราณเหล่านี้จะรู้หรือไม่ว่าการที่ท่านมัวคิดอยู่แต่ว่า วันๆ นึงเซลส์โรงแรมต้องออกไปพบลูกค้าให้ได้เท่าโน้นเท่านี้ราย แล้วคอยอ่านแต่รายงานที่สวยหรูดูดี แต่ไม่มีเซลส์ที่เป็นเจ้าของงานดฟังค์ชั่นนั้น ท่านคิดว่าท่านกำลังทำประโยชน์ให้กับโรงแรมอยู่หรือท่านกำลังทำลายกระบวนการ Lead Generation ที่ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

อีกประการหนึ่งท่านเคยฉุกคิดบ้างไหมว่าทำไมทุกวันนี้นวัตกรรมใหม่ๆ ต้องคิดต้องพัฒนาอะไรๆ ให้มันเป็น Multi-Function หรือ Multi-Tasking หรือไม่ก็ All-in-one เพื่อลดต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากร และลดเวลาการทำงาน แต่การที่ท่านๆ ที่แยกหน้าที่ความรับผิดชอบของ Sales แต่ละคนออกไปตาม Function ของงานนั้น เคยคิดบ้างไหมว่า ท่านไม่รู้จักการบูรณาการให้สมกับยุคและสมัย

ส่วน Sales โรงแรมทั้งหลาย ท่านเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า งาน Function ในโรงแรมแต่ละงาน หรือโอกาสของ Lead Generation อันยิ่งใหญ่สำหรับอาีชีพการงานในอนาคต ไม่ใช่แค่ว่าขายแล้วไม่ใช่เรื่อง หมดเวลาทำงานก็ปิดคอมเปิดตูดกลับบ้าน เคยคิดบ้างไหมว่า Organizer ทั้งหลายยังต้องมานั่งรอให้งานของตนเองเสร็จลุล่วงไปด้วยดี แล้วเซลส์โรงแรมล่ะ ใครดูแล Organizer เหล่านี้ แล้วต้องการขายครั้งเดียวเลิกหรือ

อนาคตในสายงานนี้ อาชีพนี้ อย่าเอาไปฝากไว้กับใครที่เขาไม่ต้องรับผิด (แต่รับความชอบน่ะเอา) ตามประสาคนที่ชอบ "เอาความดีเข้าตัว ความชั่วโยนให้คนอื่น"

เพิ่มยอดขาย และสร้างความประทับใจในสไตล์ Proactive CRM กับลูกค้าที่จองผ่านระบบออนไลน์

Customer Relationship Management หรือ CRM ที่รู้จักกันทั่วไปในขณะนี้นั้น โรงแรมต่างๆ ได้มีการบูรณาการกระบวนการต่างๆ ของ CRM ในโรงแรมของเองกันอย่างไร ใครที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการด้าน CRM ของโรงแรม และโรงแรมนำเอา CRM มาเพิ่มยอดขายและสร้างความประทับใจในการบริการของโรงแรมของตนอย่างไร

โดยทั่วไป โรงแรมต่างๆ จะมีการจัดการ CRM กับลูกค้าที่เคยมีประวัติการเข้าพักที่โรงแรมของตน โดยอาศัยฐานข้อมูลที่ได้จากลูกค้าเมื่อลงทะเบียนเข้าพัก แต่การจัดการ CRM กับอดีตลูกค้านั้นมักจะมี Conversion Rate ที่ต่ำ สำหรับโรงแรมที่บริการนักท่องเที่ยวแบบพักผ่อนหย่อนใจ (Leisure) เพราะโอกาสที่จะกลับมาใช้ซ้ำนั้นน้อยเต็มที แล้วถ้ายิ่งอดีตลูกค้าได้รับอีเมล์จากเราบ่อยๆ ที่เราส่งไปนำเสนอสินค้าและบริการ อาจสร้างความรำคาญให้แก่ลูกค้า แล้วถ้าในที่สุดลูกค้าตัดสินใจที่จะกด "Spam Mail" ที่อีเมล์ที่เราส่งไปละก็เมื่อนั้น เป็นอันว่า CRM ของเรา หมดสิ้นอนาคต

วันนี้ผมขอนำเสนอแนวความคิดในการเพิ่มยอดขาย และสร้างความประทับใจในการบริการให้แก่ลูกค้าในสไตล์ Proactive CRM กับลูกค้าที่จองผ่านระบบออนไลน์ ที่ยังไม่ได้เข้ามาพัก หรือเข้ามาใช้บริการของโรงแรมของเรา แต่ได้มีการจองเข้ามาแล้ว โดยผมใช้แนวความคิดที่ว่า...

"การมานั่งดูสถิติตัวเลขจากการขายที่ผ่านมานั้น เราไม่สารถเปลี่ยนแปลงยอดขายจากการขายให้กับลูกค้าในอดีตได้ แต่การที่เราใส่ใจกับว่าที่ลูกค้าที่มีอยู่ เราสามารถที่จะเพิ่มยอดขายในอนาคตได้"

และ

"ผมไม่เน้น Market Share ด้วยการไปแย่งชิงเอาลูกค้ามาเป็นจำนวนมากๆ ด้วยการขายราคาถูกๆ เพราะลูกค้าราคาถูกเหล่านี้จะไม่ใช้จ่ายอะไรในโรงแรมเพิ่มเติมอีกเลย แต่ผมเน้น Customer Share คือลูกค้าของเราที่เรามีอยู่ในมือ ทำอย่างไรเราจึงจะให้ลูกค้าเหล่านี้มียอดค่าใช้จ่ายกับเราต่อคนต่อคืนเพิ่มมากขึ้น"

และใช้ทฤษฎีลูกค้าที่ว่า

" 20% ของลูกค้า คือผู้สร้างรายได้ 80% ให้กับธุรกิจ แล้วเราจะทำอย่างไรจึงจะเพิ่มอัตราการใช้จ่ายของลูกค้า 20% เหล่านี้เพิ่มมากขึ้น การให้บริการลูกค้าน้อยรายกว่า ย่อมใช้ค่าใช้จ่ายในการขายที่น้อยกว่า รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำกว่า แต่อัตราความพึงพอใจของลูกค้าสูงกว่า"

และทฤษฎีของการตลาด การขาย และ CRM ที่ว่า
"การหาลูกค้าใหม่เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้าเก่า หรือลูกค้าที่มีอยู่ในมือ บ้างก็ว่า 10 เท่า บ้างก็ว่า 15 เท่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้เป็นฐานในการวิจัยของแต่ละสำนัก"

โดยทั่วไป ลูกค้าที่ไม่เคยมีประสบการณ์เข้าพักที่โรงแรมใดโรงแรมหนึ่งย่อมใจตุ้มๆ ต่อมๆ กับโรงแรมที่ตนเองไม่เคยมีประสบการณ์เข้าพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่จองห้องพักผ่านระบบออนไลน์ ที่ลูกค้ามักจะไม่ค่อยมีความมั่นใจกับโรงแรมที่ตนเองจะไปพักมากนัก เพราะ...
1. เวบไซต์ของ OTAs หรือ ข้อมูลที่ลูกค้าได้รับจาก Travel Agent ต่างๆ มีอยู่ค่อนข้างจะจำกัด ประเภทห้องพักที่มีให้ลูกค้าเลือก ก็มีอยู่ค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่มีห้องพักประเภท Leading Category และ ประเภทที่สูงขึ้นมาอีกหนึ่งประเภท เพียงเท่านั้น
2. สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่างๆ ของทางโรงแรมที่มีไว้บริการลูกค้าไม่สามารถนำเสนอผ่านทาง OTAs และ Travel Agents ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

ลูกค้าที่จองห้องพักมานั้นส่วนใหญ่จองมาด้วยห้องพักประเภทพื้นฐาน แล้วหวังว่าจะมาหาซื้อเพิ่มเิติมเมื่อมาถึงปลายทาง หรือเมื่อได้มาลงทะเบียนเข้าพักที่โรงแรมที่ลูกค้าจะได้มีโอกาสซักถามหรือหารายละเอียดเพิ่มเิติมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งโรงแรมต่างๆ ก็หวังจะมา Up sell กับลูกค้าเมื่อลูกค้ามาลงทะเบียนเข้าพัก

แต่ระหว่างที่ลูกค้าจองห้องพัก หรือ package ทัวร์ครั้งแรกแล้ว จนถึงการลงทะเบียนเข้าพักที่โรงแรมนั้น ระหว่างนี้เป็นช่วงเวลาที่ทางโรงแรมมีโอกาสที่จะ Up Sell สินค้าและบริการต่างๆ ของตนเองได้มากกว่าที่จะรอลูกค้ามาลงทะเบียนเข้าพักก่อน เพราะอาจจะโดนชิงตัดหน้าไปก่อนตั้งแต่ลงจากเครื่องบินที่มักจะมีผู้ไปเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ กันอยู่อย่างเพ่นพล่านในสนามบิน บริเวณรับกระเป๋า ออกนอกห้องผู้โดยสารขาเข้า Limousine และแท๊กซี่ ที่พยายามเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ โดยวิธีการหลอกล่อ และวิธีการพูดที่ดีกว่า Reception ของโรงแรม บ้างก็โยกลูกค้าที่จองไว้กับโรงแรมของเราไปพักที่โรงแรมอื่นมันซะเลย แล้วก็ให้ลูกค้ามา Refund ค่าห้องพักคืนกับเราในภายหลัง

เห็นไหมครับว่า แม้จะจองโรงแรมเรามาแล้ว ลูกค้ายังจะต้องผ่านด่าน 18 อรหันต์มาอีกกี่ด่านก่อนมาถึงเรา แล้วเราหวังจะให้ Reception ของเราไป Up Sell กับว่าที่ลูกค้าของเราได้อย่างไร ดีไม่ดี วันไหน Reception ทะเลาะกับสามีของตนเองมาก่อนมาทำงาน อาจจะไล่ลูกค้าตั้งแต่ตอนลงทะเบียนเข้าพักก็เป็นไปได้

การเพิ่มยอดขายและสร้างความประทับใจในสไตล์ Proactive CRM กับลูกค้าที่จองผ่านระบบออนไลน์นั้นมีแนวทางวิธีการดำเนินการดังนี้ครับ
1. ที่เน้นสำหรับลูกค้าที่จองผ่านระบบออนไลน์ก็เพราะว่าลูกค้าที่จองผ่านระบบออนไลน์จะมี e-mail address มาให้ตอนทำ Reservation โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จองผ่านเวบไซต์โรงแรม หรือเวบไซต์ OTAs ที่ลูกค้ามาจ่ายตรงที่โรงแรม ลูกค้าจองผ่าน GDS และ OTAs อื่นๆ ที่มี e-mail address มาให้ เช่น Wotif.com Travelocity.com เป็นต้น
2. เมื่อได้รับ booking มาแล้ว สิ่งที่ควรทำคือ
2.1 ส่งอีเมล์กลับไปยังลูกค้าเพื่อเป็นการยืนยันกับลูกค้าว่าโรงแรมของเรายืนยันการจองห้องของลูกค้าอย่างเป็นทางการ และให้ข้อมูลแก่ลูกค้าว่าในช่วงที่ลูกค้าจะเข้าพักนั้นจะมีกิจกรรม หรือ Events อะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ถ้ากิจกรรมน่าสนใจ ลูกค้าอาจจะชักชวนคนอื่นให้เดินทางมาด้วยก็ได้
2.2 นำเสนอห้องพักประเภทอื่นๆ ที่ลูกค้าอาจจะต้องการ Upgrade ให้ตรงความต้องการของลูกค้าที่ไม่สามารถหาจองได้จาก Agents หรือ OTAs
2.3 นำเสนอสินค้าและบริการอื่นๆ ให้แก่ลูกค้า โดยให้ราคาพิเศษแก่ลูกค้าที่จองมาล่วงหน้าก่อนการเข้าพัก ที่ลูกค้าเห็นว่าจะได้ประโยชน์ถ้าซื้อเพิ่มเติมมาล่วงหน้า เช่น อาหาร 1 มื้อ (ปกติลูกค้าจะกินมื้อแรกในโรงแรมถ้าไม่มีร้านอาหารอื่นใดตั้งอยู่ใกล้ๆ กับโรงแรม)
2.4 นำเสนอราคาห้องพักราคาพิเศษให้แก่ลูกค้าหากมีการจองห้องพักมาเพิ่มเิติม (ลูกค้าที่จองมานั้น อาจจะมีเพื่อนฝูง หรือคนรู้จัก ที่แยกกันเดินทางมาก็ได้) ถ้าลูกค้าได้สิทธิพิเศษนี้ อาจจะชักจูงเพื่อนฝูงมาพักกับตนเองด้วยก็ได้ และลูกค้าก็ยังมีเวลาเพียงพอในการที่จะไปชักชวนผู้อื่น ซึ่งจะทำให้สามารถขายห้องพักไ้ด้เพิ่มมากขึ้น
2.5 นำเสนอส่วนลดพิเศษสำหรับ Airport Transfer ให้แก่ลูกค้า เพราะถ้าปล่อยให้ลูกค้าไปใช้บริการที่อื่น การขายสินค้าและบริการอื่นๆ อาจจะหมดสิทธิ์ขายให้แก่ลูกค้าได้
2.6 ก่อนวันเข้าพัก 2-3 วัน ควรส่งอีเมล์ไปเตือนลูกค้า และแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับรายละเอียดการเดินทางมายังโรงแรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ข้อมูลลูกค้าแล้ว ยังจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจกับลูกค้า (แต่ความจริงแล้ว เรายังหาโอกาสในการขายสินค้าและบริการต่างๆ ให้แก่ลูกค้าในนาทีสุดท้าย ถ้าลูกค้ายังไม่ซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้นไว้ล่วงหน้า) และเป็นการแจ้งเตือนลูกค้าด้วยว่าถ้าจะยกเลิกการจอง หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเข้าพัก ต้องดำเนินการในวันที่ได้รับอีเมล์ของทางโรงแรม
2.7 วันที่ลูกค้าเข้าพัก ทางโรงแรมเตรียมใบลงทะเบียนลูกค้าไว้ให้เรียบร้อย พร้อมทั้งเตรียมห้องพักและบริการต่างๆ ที่ลูกค้าไ้ด้จองไว้ เมื่อลูกค้ามาถึง เพียงแค่กรองหมายเลขตรวจคนเข้าเมือง และลงเซนต์ชื่อในใบลงทะเบียนผู้เข้าพัก แค่นั้นก็เสร็จสิ้นกระบวนการลงทะเบียนเข้าพัก Reception ที่รับลงทะเบียนแขกเข้าพัก เมื่อไม่ต้องพยายาม Up Sell ให้แก่ลูกค้า ใช้เวลา เช็คอิน น้อย ก็จะยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะไม่ต้องพูดอะไรกับลูกค้ามาก ส่วนลูกค้า ใช้เวลาเช็คอินน้อย และได้รับการบริการที่ดีตอนเช็คอิน เพราะทางโรงแรมมีข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าอยู่ล่วงหน้าแล้ว ย่อมจะประทับใจในการบริการมากกว่าที่ต้องมาคอยถามหาโน่น นี่ นั่น กับ Reception ยิ่งถ้าถามมากแล้ว Reception ตอบไม่ได้ หรือไม่มีอารมณ์จะตอบ แทนที่ลูกค้าจะ Check-in ก็จะกลายเป็น Check-Out ไปเลยก็ได้

เห็นไหมละครับว่า Proactive CRM นั้นจะเพิ่มยอดขายห้องพัก สินค้าและบริการให้แก่ว่าที่ลูกค้าของเราได้อย่างไร และทำไมเราต้องให้ความสำคัญในกระบวนการ Proactive CRM เพราะเรายังมีโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้มากกว่าการที่เราดำเนินกิจกรรม CRM กับลูกค้าที่ Check-Out ออกไปแล้ว เพราะเขาอาจจะมาพักเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต

ถ้าเราต้องการเพิ่มยอดขายมากยิ่งขึ้นไปอีก เราก็ต้องพยายามหาทางให้ลูกค้าที่จองห้องพักมาแล้ว แต่ไม่ได้ให้ e-mail มากับทางโรงแรมตอนจองห้องพัก ผมมีเคล็ดลับในการดำเนินการดังนี้ครับ
1. สร้างหน้าเวบไว้ 1 หน้า สำหรับการลงทะเบียนเข้าพักล่วงหน้า โดยมีแบบฟอร์มที่จำเป็นสำหรับการลงทะเบียนเข้าพัก
2. มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเิติม หรือ Special Request อื่นๆ ที่ทาง Travel Agent หรือ OTAs ไม่มีให้ลูกค้า หรือไม่สามารถยืนยันให้กับลูกค้าได้ เช่น ต้องการห้องสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ห้องพักเตียงใหญ่ ฯลฯ โดยให้ข้อมูลไว้ในเวบไซต์ทางการของโรงแรมว่า Special Request เหล่านี้ Priority to pre-registration guest ถ้าไม่มีการลงทะเบียนเข้าพักล่วงหน้าอาจจะไม่ได้ตามที่ต้องการ

โดยหลักแล้ว เมื่อลูกค้าจองแพคเกจทัวร์ ต่างๆ (ที่เราไม่มี e-mail ของลูกค้า) ลูกค้ามักจะหาข้อมูลของโรงแรม สถานที่เที่ยว และสินค้า และบริการอื่นๆ ที่ตนซื้อมาจากบริษัทนำเที่ยวด้วยตนเองเพิ่มเติมจากเวบไซต์ทางการของผู้ให้บริการโตยตรงเพื่อใช้ในการศึกษาข้อมูลก่อนการเดินทาง และการเข้าพัก (ยกเว้น กรุ๊ปทัวร์ ที่หัวหน้าทัวร์พาไปไหนก็ต้องไป)

การที่เรามีสิทธิประโยชน์พิเศษให้แก่ลูกค้าที่ลงทะเบียนเข้าพักล่วงหน้านั้นย่อมจะเป็นการสร้าง Customer Engagement ก่อนที่ลูกค้าจะได้มาใช้บริการจริง และสามารถเพิ่มยอดขายได้โดยไม่ต้องวิ่งหาแต่ลูกค้ใหม่

ขอแชร์ประสบการณ์บางอย่างคือ ลูกค้าที่จองห้องพักผ่านระบบออนไลน์ของ OTAs ที่มีชื่อเสียงระดับโลก จะมียอดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในโรงแรมมากกว่าการจองห้องพักผ่าน Travel Agents หรือ OTAs ที่เน้นแต่การขายราคาถูก เพราะอะไรน่ะเหรอครับ เพราะว่า ถ้าจองผ่าน Travel Agents ส่วนใหญ่ Travel Agents จะขายสินค้าและบริการอื่นๆ ใ้ห้กับลูกค้าของตนได้ หรือถ้าจองผ่าน OTAs ที่เน้นขายราคาถูกนั้น ลูกค้ามักจะเดินทางมายังโรงแรมด้วย Taxi จากสนามบิน เพราะหาแต่ของถูก และแล้ว สินค้า และบริการอื่นๆ ก็จะโดน Taxi เหล่านี้คาบไปกินก่อนเข้ามาพักที่โรงแรม

ถ้าท่านไม่เชื่อพฤติกรรมเหล่านี้ ลองให้ Front Office พิมพ์ Statistic ออกมาดูซิครับ ปกติแล้ว PMS ของโรงแรมจะเก็บข้อมูลไว้ดังนี้
 
Room night และ Room Revenue ของ Travel Agents หรือ OTAs ต่างๆ ไว้ ซึ่ง ถ้าหารกันออกมา เราก็จะได้ ARR อย่างที่ทาง Front Office Manager มานั่งลอยหน้าลอยตารายงานอยู่ทุกๆ เช้า แต่ในฐานะของนักการตลาด ถ้าเราเลือกจะขาย หรือจะให้ห้องใครไปขาย เราต้องเอา F&B Revenue และ Other Revenue มารวมกับ Room Revenue ก่อน แล้วเราค่อยหารด้วยจำนวน Room Night แล้วเราจะเห็นได้ว่า Travel Agents และ OTAs แต่ละรายนั้น มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ถ้าคุณภาพมาก เราจะมี Total Revenue ต่อการขาย 1 คืน มากกว่า ARR ที่ได้รับจาก Travel Agents หรือ OTAs ที่เน้นขายราคาถูก อยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อไหม บาง Travel Agent ไม่มียอดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของลูกค้าภายในโรงแรมเลย เพราะว่าอะไรน่ะเหรอครับ

"พอลูกค้าขึ้นรถของ Travel Agent ออกจากสนามบิน เข้าสู่โรงแรมที่พัก Guide หรือ Transfer Man ก็จะพยายามบอกว่าสินค้าและบริการในโรงแรมนั้นราคาแพง พยายามอย่าใช้ ถ้าอยากได้อะไรก็ให้บอกตน จะพาไป จะได้ราคาที่ถูกกว่า และพยายามขายสินค้าและบริการต่างๆ ระหว่างเดินทางจากสนามบินสู่โรงแรม"

ไม่เชื่อก็ลองพิมพ์เอาข้อมูลออกมาดูนะครับ แล้วจะเห็นว่าเป็นจริงอย่างที่ผมเล่ามานี้หรือไม่ และถ้าในฐานะที่คุณเป็นนักการตลาด และนักการขาย ห้องพักที่มีอยู่เพียงจำกัดนั้น ท่านจะเพิ่มรายได้สู่โรงแรมได้อย่างไร ไม่ใช่เห็นว่าขายห้องพักได้ ก็หลับหูหลับตาขายไป โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายโดยรวมของธุรกิจ

หวังว่าแนวความคิด Proactive CRM นี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ ท่าน ความคิดเห็นของผู้อ่านทุกท่าน ย่อมเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน ในการนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ มาเขียนให้ทุกคนได้อ่านเป็นแนวทางต่อๆ ไปนะครับ ไม่ใช่ว่าแอบเข้ามาอ่านแต่เพียงอย่างเดียว ผู้เขียนก็คงจะคิดว่าเรื่องของตนเองที่นำมาเขียนนั้นไม่น่าสนใจ ก็จะเอาเวลาของตนไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์มากกว่าครับ

ขออภัย ถ้าเนื้อหาของบทความนี้อาจะทำให้ผู้อ่านบางท่านไม่พอใจ หรือไม่สบายใจ

อะไรคือ Hotel Online Marketing


ตอนนี้ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยยังอยู่ในสถานการณ์ Over Supply โรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ จึงคิดที่จะหันมาเอาดีทางด้านการขายห้องพักผ่านระบบจองห้องพักทางอินเตอร์เน็ต และแข่งกันตัดราคาจนราคาค่าห้องพักจนปัจจุบัน ค่าห้องพักของโรงแรมบางแห่งถูกกว่าราคาค่าอาหารเช้าสำหรับสองคนของโรงแรมในต่างประเทศ

หลายๆ โรงแรมรับสมัครพนักงานรุ่นใหม่มารับผิดชอบทางด้านการขายห้องพักผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการเฉพาะ คอยติดต่อประสานงานกับ OTAs ต่างๆ ในการบริหารจัดการด้านราคา โปรโมชั่น คอยทำตามคำแนะนำต่างๆ ของ OTAs เพื่อให้โรงแรมของตนสามารถขายแข่งกับโรงแรมอื่นๆ ได้

เมื่อโรงแรมของตนสามารถขายผ่านอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ต่างก็ยิ้มย่องอยู่ในใจว่าตนเองนั้นได้โดดเข้าสู่ยุค Online Marketing กับเขาแล้ว เพราะสามารถขายได้แล้ว และคิดว่านั่นคือที่สุดแล้วของการตลาดห้องพักโรงแรมผ่านระบบออนไลน์

พนักงานโรงแรมหลายคนที่มีหน้าที่ในการติดต่อขายห้องพักผ่าน OTAs ต่างๆ นั้น ต่างก็มักจะ Present ตัวเองว่ามีความรู้ทางด้าน Online Marketing แต่ถ้าถามคนเหล่านี้ว่า...
1.   นอกจากจะรู้จัก Web Site ของ OTAs ต่างๆ แล้ว เขารู้จักเวบไซต์อะไรอื่นๆ อีกบ้างที่จะนำมาใช้ในด้านการตลาด
2. เวบไซต์ของโรงแรมเองนั้น มีเนื้อหาประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
3. เวบไซต์ของโรงแรม มีการปรับปรุงเพิ่มเิติมเนื้อหาบ่อยแค่ไหน
4. มี Key word อะไรบ้าง ที่ห้ามใช้ เพราะจะทำให้ Search Engine หยุดค้นหาโดยทันทีทันใด
5. เวบไซต์ของโรงแรม นำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
6. เวบไซต์ของโรงแรม มี Link Popularity มากน้อย เพียงใด
7. ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน คนเหล่านี้ควรจะต้องทำอะไรกันบ้าง
8. Rate Parity คืออะไร
9. Conversion Rate คืออะไร
10. อะไรคือ Site Analytics
11. อะไรคือ Social Media Marketing นอกเหนือจากการโพสค์ข้อความและรูปภาพใน Facebook หรือ Twitter
12. การโฆษณาสินค้าและบริการใน Wall ของตนเองและผองเพื่อนใน Facebook คือ Online Marketing จริงหรือ
13. ธุรกิจของคุณอยู่ใน Business Directory มากน้อยเพียงใด
14. โรงแรมของคุณมีแผนการ Article Submission, Web link submission, Search Engine Submission อย่างไรบ้าง
15. Rate Structure ของราคาขายทางอินเตอร์เน็ต อยู่ตรงไหน ขายทางอินเทอร์เน็ตได้แล้ว จะทำให้ขายผ่าน Channel ไหนไม่ได้บ้าง
16. การที่ขายห้องพักผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นเพราะปัจจัยอะไรบ้าง นอกจากราคา
17. การขายห้องพักผ่านอินเทอร์เน็ตได้นั้น มีความยั่งยืนแค่ไหน
18. การขายได้มากในขณะนี้ กับ Positioning ของโรงแรมในเป้าหมายทางธุรกิจระยะยาวต่างกันอย่างไร
19. โรงแรม Chain กับโรงแรมอิสระ มีความแตกต่างกันอย่างไรในด้าน Online Marketing
20. เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Online Marketing ของท่านมีอะไรบ้าง และต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง


ลองหาคำตอบดูกันนะครับว่าคนที่บอกว่าทำ Online Marketing ของโรงแรมต่างๆ นั้นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำถามข้างบนอย่างไรกันบ้าง

ที่สำคัญคือ "การตลาด ไม่ใช่แค่การขายได้" อย่างที่เข้าใจกันอยู่ในขณะนี้นะครับ

ใครมีคำตอบดีๆ รับประกันได้ว่าเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมโรงแรมทั่วโลกในปัจจุบันและในอนาคต ครับ

สำหรับผู้ที่สนใจอยากรู้รายละเอียดในเรื่องใดๆ ข้างต้น เข้ามา Post ข้อความสอบถามกันได้นะครับ หรือติดตามได้ที่ www.ihotel2011.com จะทยอยๆ เขียนมาให้อ่านกันเป็นความรู้ครับ

Wednesday 2 March 2011

แนะนำ Link Popularity Check Tools

เมื่อคราวที่แล้วผมได้แนะนำเกี่ยวกับ Link Popularity Check ไปแล้ว แต่บางท่านอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการทำ Link Popularity Check ผ่านทางเวบไซต์ วันนี้เลยนำเอาเวบไซต์ที่มีโปรแกรมสำหรับ Link Popularity Check มาแนะนำเพื่อให้ท่านไปหา Download โปรแกรมมาติดตั้งไว้ที่เครื่องของท่าน และสามารถใช้ตรวจสอบได้หลายเวบไซต์ พร้อมกันนี้ ผมมีผลการตรวจสอบ Link Popularity Check ของ OTAs บางส่วนที่ได้จากการใ้ช้งานโปรแกรมนี้มาให้ดูเป็นตัวอย่างดังนี้ครับ


Download โปรแกรม Link Popularity Check รุ่น 3.0.3 ได้ฟรีที่ : http://www.axandra.com/free-link-popularity-check.htm 

ลองนำไปใช้ดูนะครับ

i ~ Hotel Marketer 
www.ihotelmarketer.com

Friday 11 February 2011

Link Popularity Check ปฐมบทของการเลือก OTA ที่จะทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต อย่างมืออาชีพ

ถ้าเกิดวันหนึ่ง เจ้านายของคุณถามคุณว่า ถ้าโรงแรมที่ท่านทำงานอยู่นั้นต้องการขายห้องพักของโรงแรมผ่าน Online Travel Agents (OTAs) ที่มีอยู่ดาดดื่นในปัจจุบันท่านจะเลือกเข้าร่วมกับใคร และให้ความสำคัญกับใครเป็นลำดับต้นๆ ท่านเองจะทำอย่างไร

กระไหนเลย ใช้ Google Search Engine ช่วยดีกว่า ว่าแล้วก็ เข้าพึ่งพา Google ที่ทุกคนล้วนกล่าวขานกันมา ว่า Google นี่แหละ คือสุดยอดของกันทำ SEO ใครใหญ่จริงแน่จริง ก็จะได้เห็นดีกัน ว่าแล้วก็ลอง Search หา คำว่า Bangkok Hotel ใน Google ทันทีทันใด โดยหวังว่า ใครที่เป็น OTA ที่ดีแท้แน่นอนย่อมปราำกฎมาให้เห็นในพริบตา

และแล้วผลก็ปรากฎมาให้เห็นดังภาพนี้ (ขออนุญาตไม่แสดงผลตามที่ค้นหาจริงขณะที่เขียน)


ว้าว ตำแหน่งที่ 1-3 ท่าทางจะเจ๋งจริง ขึ้นมาลำดับต้นๆ เลย ในกรอบพิเศษเสียด้วย.... แต่ดูไปดูมา อ้าว เป็น Ad นี่หว่า นี่หว่า

พอให้ไปดูทางด้านขวา ตำแหน่ง 4-10 ก็เห็นว่า มันก็ Ad อีกเหมือนกัน

นี่แหละว๊ะ ตำแหน่งที่ 11 เป็นต้นไป เป็นผลการค้นหาที่แท้จริง ทำ SEO เจ๋ง ติดอันดับ Keyword สำคัญๆ อย่างนี้ นี่แหละตัวจริงเสียงจริงแน่นอน นี่แหละเจ้านายคงพอใจแน่นอน เพราะที่ได้ฟังเขาเล่ามาใครที่ว่า เจ๋งๆ ต้องมีผลการค้นหาขึ้นมาเป็นลำดับต้นๆ เพราะเขาทำ SEO เก่งสมคำล่ำลือ ว่าแล้วก็เตรียมตัวไปนำเสนอเจ้านายอย่างดีออกดีใจ

ก่อนไปรายงานเจ้านาย ไหนเลย ขอไปโม้กะเพื่อนๆ ใน Facebook หน่อยซะดีหว่า พอเข้าไป เห็น i ~ Hotel Marketer โผล่ขึ้นมา เกิดความสงสัย ลองเข้าไปดูซะหน่อย... เอ๊ะ ช่างน่าสนใจ เข้าไปดูซะหน่อย... แต่น แต้น แต๊น......

"ผลการค้นหาใน Google ที่ท่านพบนั้น คือสิ่งที่ท่านต้องการค้นหาจริงหรือไม่ ถ้าท่านอยากรู้ว่าใครคือ OTAs ที่ ท่านต้องการร่วมงานด้วย ท่านต้องสังเกตุว่า.....

Google ที่ท่านเข้าไปค้นนั้น เป็นของประเทศใด ถ้าท่านใช้ Google.co.th ผลที่ขึ้นมาก็คือผลการค้นหาเฉพาะในประเทศไทย....

ท่านต้องการ OTAs ที่เน้นลูกค้าในประเทศไทยเท่านั้นหรือ แล้วลูกค้าจากทางยุโรปล่ะ เขาใช้อะไรค้นหา แน่นอนว่า ไม่ใช่ Google.co.th แน่นอน (ข้อนี้มีคนที่รับจ้างทำ SEO เอาไว้ทำมาหากินกับโรงแรมต่างๆ มามากมาย)

ถ้าท่านอยากได้ลูกค้าอังกฤษ ต้องค้นที่ Google.co.uk หรือถ้าต้องการลูกค้าจากญี่ปุ่น ต้องค้นที่ Google.co.jp นะครับ จึงจะรู้แท้แน่ชัดว่าใครทำ SEO เข้มแข็งในตลาดใด ส่วนใครที่แสดงผลในตำแหน่งที่ 1 - 10 ดังภาพข้างบนนั้น ล้วนเป็นการซื้อ Ad Word แบบ Pay-Per-Click (PPC) ทั้งสิ้น ซื้องต้องมีการประมูลกันว่าจะจ่ายครั้งละเท่าไหร่ถ้ามีคน Click เข้าไปชม

บางคนคิดว่า ก็่น่าจะคุ้มค่ากับการที่โฆษณาแล้วมีคน Click เข้าไปชม (ถ้าเข้าไปชมแล้วจองด้วยก็คุ้มนะ) แต่ 555 ใครอยากรู้ลึกๆ ขออธิบายให้รู้เป็นการส่วนตัว ไม่กล้านำมาเผยแพร่ทางนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร

ถ้างั้น ตำแหน่ง 11 เป็นต้นไปคือตัวจริงเสียงจริงใช่ไหม.... ขอตอบได้เลยว่าไม่ใช่เสียทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของผู้รับจ้างทำ SEO ที่พอเริ่มเปิดทำธุรกิจใหม่ใหม่ๆ ก็ทุ่มทุนสร้างด้วยการว่าจ้าง หรือลงทุนเองในการทำ SEO เพื่อดัน Website ของตนเองขึ้นมาให้อยู่ในลำดับต้นๆ ของ Search Engine จ่ายเงินครั้ง ก็ได้ขึ้นมาข้างบนครั้งนึง แล้วผู้รับทำ SEO ก็จะำนำผลไปโชว์ให้ผู้ว่าจ้างได้เห็น แต่อีกไม่นานนัก ก็มีคนอื่นเข้ามาแทนตำแหน่ง แล้วตำแหน่งของตนเองก็ลดลงไปเรื่อยๆ ผู้รับทำ SEO ก็เสนอบริการต่อไปว่า ถ้าต้องการให้ติดอันดับต้นๆ อยู่เรื่อยๆ ก็ต้อง ว่าจ้างเขาทำ SEO ไปเรื่อยๆ ไม่จีรังยั่งยืน ใครมีเงินจ้างมากกว่า ก็ขึ้นมาติดอันดับต้นๆ มากกว่า ...

อ้าว สรุปว่าจะต้องจ่ายอีกเท่าใดจึงจะติดอันดับ... อันนี้ไม่มีใครให้คำตอบที่แท้จริงแก่ผู้ว่าจ้าง บอกไปก็หมดช่องทางทำมาหากินละซิ...

แล้วทำอย่างไรจึงจะได้ติดอันดับในการ Search ใน Google... ติดตามอ่าน i ~ Hotel Marketing  ไปเรื่อยๆ รับรองรู้ใสกระจ่างแน่นอน (ถ้าไม่โดนใครทุบหัวไปซะก่อนนะครับ)

ไม่เอา ไม่นอกเรื่องดีกว่า เดี๋ยวจะหาว่าไร้สาระ ทั้งๆ ที่นี่มีสาระสุดๆ ที่เป็นสาระที่ไม่ต้องเสียเงินเสียทอง (หรือเสียค่าโง่ให้ใคร)

ถ้าท่านต้องการพิจารณาว่า OTA รายใด มีความโด่งดัง หรือเป็นที่รู้จักมากน้อยเพียงใด มีความน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร ขอให้พิจารณาจากข้อมูลปฐมบทดังนี้
1. Link Popularity ความจริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของ SEO ที่ผู้รับจ้างมักจะไม่ค่อยนำเสนอเท่าใดนัก แต่ในฐานะที่เราต้องการร่วมงานกับตัวจริงเสียงจริง ที่ไม่ใช่ตัวปลอมที่อาศัยการเสียเงินโฆษณาแบบฉาบฉวย ให้ตรวจสอบที่ Link Popularity ของ OTA แต่ระรายว่ามีมากน้อยเพียงใด การมี Link Popularity มากๆ ต้องอาศัยระยะเวลา และการยอมรับที่แท้จริง จึงจะมีผู้ที่ทำ Link Back กลับไปยังเวปไซต์นั้นๆ ได้ จริงอยู่ว่าบางรายอาจจะยอมเสียเงินเสียทองจ้างเขาทำ Link Popularity ได้ แต่ก็เหมือนจ้างเขาทำ SEO คือไม่จีรังยั่งยืน เมื่อเลิกจ่ายเงินเขา เขาก็เลิกทำให้เรา Link เทียมๆ ก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แล้วเราจะตรวจสอบได้ที่ไหน ผมขอแนะนำเวบไซต์นี้ครับ (ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่มีผลการตรวจสอบที่ดูดี และสามารถส่งเข้า e-mail ได้เลย) ที่นี่ครับ http://www.seocentro.com/tools/search-engines/link-popularity.html สามารถ ตรวจสอบได้ 3 Domain name แล้วจะมีผลการตรวจสอบออกมาให้เห็นชัดเจน

***ขออนุญาตใช้ Domain Name ของ OTAs ที่มีชื่อเสียงเป็นตัวอย่าง

จะเห็นได้ว่า Domain Name ของ OTAs ระดับโลกที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมายาวนาน จะมี Link Popularity เยอะมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากการดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลานาน และได้้ร้บการยอมรับ และมีผู้เข้าร่วม หรือ Link Back มาเป็นจำนานมาก ซึ่ง OTAs มือใหม่หัดขับนั้นจะมี Link Popularity น้อยกว่า ที่ทุ่มทุนสร้างไปกับการจ่ายเงินทำ SEO เพื่อให้แสดงผลเป็นลำดับต้นๆ ใน Search Engine ต่างๆ

ขอบอกเคล็ดลับอีกสักนิดว่า ถ้าจะเปรียบเทียบกันแล้ว ขอให้เปรียบเทียบแบบ Apple to Apple นะครับ คือ ถ้าจะเทียบ .com ก็เทียบกับ .com ด้วยกัน คือวัดกันระดับโลก แต่ถ้าจะวัดกันระดับท้องถิ่นเช่น ในตลาดประเทศเยอรมันนี้ ก็วัดกันที่ .de กับ .de  อย่าไปวัด .com กับ .de ครับ ถือว่าเอาเปรียบกัน หรือจะวัดของประเทศอังกฤษ ก็ต้องวัดกันเฉพาะ .co.uk เท่านั้นครับ

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปฐมบทของการเลือก OTA ที่จะร่วมงานกันต่อไปในอนาคตย่อมได้ภาพที่ชัดเจนมากกว่าการค้นหาใน Search Engine ต่างๆ ที่เรามานั่งค้นหาอยู่ในประเทศไทย ในขณะที่เราอยากรู้ว่าใครคือตัวจริงเสียงจริงในตลาดต่างๆ ในต่างประเทศ เว้นแต่ว่าท่านจะไปนั่งค้นหาในประเทศนั้นๆ แต่ท่านก็ยังอาจจะพบกับภาพลวงตาด้วยการทุ่มทุนสร้างของ OTAs เกิดใหม่

อีกเคล็ดลับนึงก็คือว่า ตัวจริงเสียงจริงนั้น จะสามารถค้นหาได้จาก Keyword ต่างๆ มากมาย เพราะเมื่อมี Link Popularity เยอะ ก็จะมี Keyword นำพามาสู่ OTAs เหล่านั้นเยอะกว่าครับ

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อ i ~ Hotel Marketer มือใหม่ทั้งหลายครับ เริ่มต้นถูกที่ถูกทาง ย่อมเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงนะครับ มีอะไรสงสัยเข้ามาปรึกษาหารือกันได้นะครับ แต่ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่สนใจใฝ่รู้ และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนมากกว่าที่จะเอาแต่ได้นะครับ

i ~ Hotel Marketer